Location
ASOKE BTS
Call
092 246 9955
Line Chat
@lephysioclinic
Opening Hours
Mon - Sunday: 7.30AM - 9.30PM

การเคลื่อนไหวกระดูกส่วนอก

การเคลื่อนไหวกระดูกส่วนอก ในชีวิตประจำวันของเรามักจะมีแต่การเคลื่อนไหวร่างกาย ก้มไปด้านหน้าเป็นส่วนใหญ่ เช่น นั่งอ่านหนังสือหรือใช้คอมพิวเตอร์ เอื้อมมือหยิบของทางด้านหน้า  ทำให้ขาดการเคลื่อนไหวทิศอื่นๆ และถ้าหากข้อต่อขาดการเคลื่อนไหวเป็นเวลานาน จะทำให้เนื้อเยื่อรอบๆข้อต่อ ทั้งกล้ามเนื้อ (muscles ), เอ็นที่หุ้มอยู่รอบข้อต่อ (joint capsule) รวมถึงพังผืด หรือเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (fascia) ขาดความยืดหยุ่น และยิ่งปล่อยให้ร่างกายขาดการเคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ ถูกจำกัดในท่าเดิมๆ จนข้อต่อเคลื่อนไหวได้น้อยลง (hypomobility) และอาจนำไปสู่ภาวะข้อต่อยึดติด (joint stiffness) ซึ่งอาการที่มักพบได้บ่อยคือ มีอาการหลังตึง รู้สึกติดขัดเวลาเอี้ยวตัว บิดหมุน หายใจได้ไม่ทั่วท้อง หรืออาจมีอาการปวดเมื่อยเรื้อรังได้

ปัญหาขาดความสามารถในการเคลื่อนไหวนี้ ไม่ได้อยู่แค่ที่กระดูกสันหลัง แต่ยังเป็นสาเหตุของอาการปวดคอบ่าไหล่ และภาวะไหล่ห่อ หลังค่อม หรือ ภาวะ office syndrome รวมถึงภาวะข้อไหล่ติด อาการแสดงที่สามารถสังเกตได้ คือ เวลายกแขน หรือเอาแขนไขว้หลังแล้วรู้สึกติดขัด  นั่นเป็นเพราะว่าข้อไหล่และหลังส่วนบนระดับอกของเรานั้นถูกเชื่อมติดกัน เมื่อกระดูกสันหลังขาดความยืดหยุ่น เคลื่อนไหวได้ไม่ดี ข้อไหล่ก็จะเคลื่อนไหวได้น้อยลงด้วย  อีกปัญหาที่พบได้บ่อยมาก คืออาการปวดหลังล่าง ปวดตึงหลัง รู้สึกเอวสองข้างไม่เท่ากัน 

 

การเคลื่อนไหวกระดูกส่วนอก ออกกำลังกายด้วยพิลาทิส

การออกกำลังกายแบบพิลาทิส จะช่วยส่งเสริมการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังในทิศทางต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย เพื่อลดภาวะ Hypomobility เพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบๆกระดูกสันหลัง ความสามารถในการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังที่ดี จะส่งผลต่อการทำงานของคอ บ่า ไหล่ และหลังล่าง รวมถึงลดความเสี่ยงที่จะเกิดอาการบาดเจ็บของข้อต่ออื่นได้อีกด้วย 

 

Le physio จะดูแลคุณอย่างไรบ้าง?

1. We treat
เรามีทีมนักกายภาพในการดูแลในครั้งแรก โดยจะมีการประเมินอาการบาดเจ็บก่อนทุกครั้งที่มาในครั้งแรก นอกจากนั้นยังช่วยดูแลในส่วนของ การปรับ posture อีกด้วย
3. We educate
มีการสอนหรือบอกถึงเเนวทางในการ impove ร่างกายของผู้เรียน โดนจะมีการพูดคุยอย่างเป็นเหตุเป็นผล ให้ผู้เรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในกิจการอย่างอื่น หรือใช้ในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย
2. We assess
มีการประเมินผล เป็นระยะๆดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิดรวมถึง มีทีมในการช่วยคิดออกแบบโปรแกรมให้เข้ากับตัวผู้เรียน ให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์สูงสุด ทีมของเราเป็นกันเอง เสมือนผู้เรียนกำลังคุยกับเพื่อนคนหนึ่ง ที่จะช่วยให้ผู้เรียนแก้ไขปัญหาได้
4. We treat
เรามีโปรแกรมต่างๆ สำหรับการทำกายภาพมากมาย เช่น myofascia release, Physio treatment, Pilates และอื่นๆ ที่จะช่วยเสริมสร้างให้ร่างกายและกล้ามเนื้อคุณแข็งแรงและมีความยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น และช่วยลดอาการบาดเจ็บต่างๆจากการออกกำลังอีกด้วย

ข้อเท้าพลิก

ข้อเท้าพลิก ปัจจัยที่ทำให้เกิดข้อเท้าพลิก มักมีสาเหตุมาจากการเดินบนพื้นที่ต่างระดับ การเดินบนพื้นที่ขรุขระ การก้าวบันไดผิดขั้น ผู้หญิงที่จำเป็นต้องสวมส้นสูงหรือในผู้ชายที่เล่นกีฬา รวมถึงผู้สูงอายุก็อาจข้อเท้าพลิกจากปัญหาการทรงตัว หรือสายตาไม่ดี ฯลฯ ทำให้อาการข้อเท้าพลิกสามารถเกิดได้ในทุกเพศทุกวัยเท่าๆ กัน และมักมีโอกาสเกิดขึ้นในคนที่มีภาวะอุ้งเท้าสูง (High arch) มากกว่า คนที่มีภาวะอุ้งเท้าแบน (Flat feet) นอกจากนี้พื้นผิวที่เราวิ่ง ความลื่น และรองเท้าที่ใส่ก็มีส่วนในการเพิ่มความเสี่ยงเช่นเดียวกัน โดยอาการบาดเจ็บที่พบบ่อยคือ ข้อเท้าบิดเข้าใน

เนื่องจากการเกิดข้อเท้าพลิก มีโอกาสส่งผลให้เกิดซ้ำได้อีกภายใน 1 ปี จากเส้นเอ็นที่ได้รับผลกระทบ อาจกล่าวได้ว่า ข้อเท้าพลิก + บิดหมุน + เกิดขึ้นซ้ำๆ  = เอ็นข้อเท้าหลวม ผู้ป่วยจะเดินแล้วรู้สึก ข้อเท้าทรุดหรือพลิกง่าย รู้สึกข้อเท้าไม่มั่นคง ซึ่งเมื่อข้อเท้าหลวมจะทำให้การทรงตัวทำได้ไม่ดี มีตัวรับความรู้สึก ที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทรับความรู้สึกของข้อต่อ (Proprioception)  ส่วนนี้ที่ทำหน้าที่รับรู้ตำแหน่งของข้อต่อ,การเคลื่อนไหว ทำงานผิดพลาดไป ซึ่งส่งผลต่อระบบการตอบสนองอัตโนมัติของร่างกายด้วย รวมถึงการทำงานของกล้ามเนื้อที่ไม่สมดุล อาจมีการดึงกล้ามเนื้อมัดอื่นมาช่วย และเกิดการบาดเจ็บอื่นร่วมด้วย

 

ข้อเท้าพลิก ฟื้นฟูได้ด้วยพิลาทิส

พิลาทิสจะช่วยคืนความสมดุลในกับกล้ามเนื้อและลดอาการบาดเจ็บซ้ำ ในกรณีที่ได้รับการผ่าตัดหลังเอ็นข้อเท้าฉีก จะทำให้สูญเสียความยืดหยุ่นของข้อเท้าไป รวมถึงกล้ามเนื้อโดยรอบด้วย เนื่องจากอาจถูกจำกัดการเคลื่อนไหวหลังการผ่าตัด ดังนั้นพิลาทิสจึงเหมาะในการเพิ่มสมดุลในกับกล้ามเนื้อหลังการผ่าตัดโดยการเพิ่มความยืดหยุ่นและเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อที่เฉพาะเจาะจง

 

อาการเจ็บข้อสะโพก

อาการเจ็บข้อสะโพก จะมีอาการปวด ติดขัดเวลาเคลื่อนไหว ควรฟื้นฟูบำบัดด้วยการเล่นพิลาทิส และทำกายภาพบำบัดเพิ่มเติม นัดตรวจประเมินและรักษาได้ที่ Le Physio clinic

ภาวะข้อไหล่ติด

ภาวะข้อไหล่ติด มีอาการเจ็บหรือปวด เมื่อเคลื่อนไหวหัวไหล่ ยกแขนไม่ได้ ใช้ชีวิตลำบาก le physio clinic ช่วยคุณได้ สามารถบำบัดฟื้นฟูควบคู่ไปกับการเล่นพิลาทิส

ทำไมวิ่งแล้วปวดหลังล่าง

ทำไมวิ่งแล้วปวดหลังล่าง เกิดจากการวิ่งไม่ถูกวิธี และการใช้ชีวิตประจำวัน นักกายภาพคลินิกเราสามารถช่วยวิเคราะห์ร่างกายและออกแบบโปรแกรมฟื้นฟูอาการเจ็บปวดได้

วิ่งยังไงไม่ให้เจ็บเข่า

วิ่งยังไงไม่ให้เจ็บเข่า นักวิ่งบางท่านอาจคิดว่า “การวิ่งยังไงก็ต้องปวดเข่าอยู่แล้ว” ซึ่งเป็นความคิดที่ผิด!! เนื่องจากการวิ่งที่ถูกต้อง ด้วยความพร้อมที่เพียงพอของกล้ามเนื้อ และสรีระท่าทางที่เหมาะสม จะต้องไม่ก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บของเข่าอย่างแน่นอน

ก่อนอื่นเราจะต้องทราบก่อนว่า อาการเจ็บเข่าจากการวิ่ง มีอะไรได้บ้าง อาการเป็นยังไง และมีสาเหตุมาจากอะไร จะทำให้เราสามารถป้องกันและแก้ไขได้

เอ็นสะบ้าอักเสบ (Patellar Tendinitis)

อาการที่พบ : เจ็บปวดบริเวณลูกสะบ้าที่อยู่ใต้เข่า ยิ่งหากอยู่ในท่างอเข่าจะยิ่งรู้สึกปวด

สาเหตุ : เกิดจากการวิ่งที่มีเนินเขา หรือพื้นไม่เรียบ

การดูแลรักษา : พักการวิ่งออกกำลังกาย แล้วประคบด้วยน้ำแข็ง 15-20 นาที 3-4 ครั้งต่อวัน

การป้องกัน : ยืดเหยียดกล้ามเนื้อในท่าที่ช่วยให้บริเวณเข่า ต้นขา และน่องได้ผ่อนคลายทั้งก่อนและหลังวิ่ง ค่อยๆเพิ่มระดับความเข้มข้นของการฝึกซ้อมแบบค่อยเป็นค่อยไป

กระดูกอ่อนข้อเข่าอักเสบ (Runners Knee)

หรือ Patellofemoral Pain Syndrome (PFPS)

อาการที่พบ : ปวดบริเวณเข่า มีอาการมากเมื่อมีการขึ้นลงเนิน หรือมีการงอเข่า

สาเหตุ : เกิดจากการวิ่งที่เพิ่มความเร็วหรือระยะทางที่มากเกินไปขาดการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ การขึ้นเนินหรือบันไดที่สูงชัน

การดูแลรักษา : พักจากการวิ่ง แล้วประคบด้วยน้ำแข็ง 15-20 นาที วันละ 2-3 ครั้ง จนกว่าอาการจะดีขึ้น

การป้องกัน : ยืดเหยียดกล้ามเนื้อก่อนและหลังออกกำลังกายสวมใส่รองเท้าที่เหมาะสม วิ่งในพื้นที่ไม่แข็งและเนินสูงจนเกินไป

วิ่งยังไงไม่ให้เจ็บเข่า รู้หรือไม่ว่าในขณะที่วิ่ง เรามีการลงน้ำหนักอยู่บนขาข้างเดียว ซึ่งจะต้องรับน้ำหนักถึง 2.5 เท่าของน้ำหนักตัว

 

ดังนั้นหากเรามีท่าทางการวิ่งที่ไม่ถูกต้อง ก็จะส่งผลอย่างมากต่อข้อเข่า ซึ่งสิ่งที่ควรทำในขณะที่วิ่งก็คือการวางส้นเท้าให้อยู่ใต้ต่อกระดูกรองนั่ง (sit bone) เพื่อให้เข่าสามารถรองรับน้ำหนัก 2.5 เท่าได้อย่างเหมาะสมนั่นเอง เพราะถ้าหากคุณวางเท้าไปทางด้านหน้ามากเกินไป หรือที่เรียกว่า Over striking ก็จะทำให้เกิดการบาดเจ็บของข้อเข่าแน่นอน

และอีกสิ่งที่สำคัญนอกจากท่าทางในการวิ่งแล้ว นั่นก็คือ Posture

ก่อนเริ่มโปรแกรมการรักษาฟื้นฟู ทาง  Le Physio Clinic จะมีการทำ Body reading และ Posture analysis เพื่อประเมินสรีระของร่างกาย การจัด alignment หรือการวางตัวของข้อต่อ ซึ่งอาจส่งผลต่อท่าทางในการวิ่ง รวมถึงการทรงตัวบนขาข้างเดียว

 

เช่น ผู้ที่มีปัญหาการผิดรูปของข้อเข่า เช่น เข่าบิด ขาเป็ด ขาโก่ง ก็อาจะมีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บที่ข้อเข่าได้มากกว่า ซึ่งภาวะดังกล่าว ไม่จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไขเสมอไป เพียงแค่คุณปรับเปลี่ยนการทำงานของกล้ามเนื้อให้เกิดความสมดุล

วิ่งยังไงไม่ให้เจ็บเข่า   วิธีการที่เราจะช่วยรักษาคุณ

  • Physiotherapy treatment ทางกายภาพบำบัดของ Le Physio Clinic เราสามารถให้การรักษาได้ตั้งแต่ในระยะแรกของการบาดเจ็บ ซึ่งอาจจะมีอาการอักเสบ ปวดบวมแดงร้อน ซึ่งการรักษาจะเป็นการประคบเย็นเพื่อลดการขยายตัวของหลอดเลือด ลดอาการอักเสบ และการทำอัลตราซาวน์ด้วยเทคนิค non thermal effect หรือไม่ทำให้เกิดความร้อน เพื่อช่วยเพิ่มกระบวนการซ่อมสร้างของร่างกาย กระตุ้นให้ระยะการอักเสบผ่านไปไวขึ้น หรือแม้แต่การบาดเจ็บเรื้อรังที่อาจทำให้เกิดภาวะข้อติด เราสามารถใช้เทคนิค Mobilization เพื่อเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหว หรือการอัลตราซาวน์เพื่อเพิ่มการขยายตัวของหลอดเลือด ลดอาการปวดได้
  • Myofascial release technique เพื่อช่วยปรับ Posture ซึ่งเป็นการ Balance tension ของ Fascia หรือคลายความตึงตัวของผังพืดที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของร่างกาย
  • Clinical Pilates workout สุดท้ายโปรแกรมการเรียนพิลาทิสที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับคุณ ไม่ว่าจะเป็นการจัด alignment ของข้อเท้า ข้อเข่า ข้อสะโพก การเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขา และก้น รวมถึงเน้นการทำงานของ Back chain หรือ Hamstring เพิ่มการทำงานของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว และกระตุ้นประสิทธิภาพในการทรงตัวบนขาข้างเดียว และที่สำคัญที่สุดคือการปรับเปลี่ยน Posture เพื่อให้บุคลิกภาพในขณะที่วิ่งนั้นมีความเหมาะสมมากที่สุด

Le physio จะดูแลคุณอย่างไรบ้าง?

1. We listen
เรามีทีมนักกายภาพในการดูแลในครั้งแรก โดยจะมีการประเมินอาการบาดเจ็บก่อนทุกครั้งที่มาในครั้งแรก นอกจากนั้นยังช่วยดูแลในส่วนของ การปรับ posture อีกด้วย
2. We assess
มีการประเมินผล เป็นระยะๆดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิดรวมถึง มีทีมในการช่วยคิดออกแบบโปรแกรมให้เข้ากับตัวผู้เรียน ให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์สูงสุด ทีมของเราเป็นกันเอง เสมือนผู้เรียนกำลังคุยกับเพื่อนคนหนึ่ง ที่จะช่วยให้ผู้เรียนแก้ไขปัญหาได้
3. We educate
มีการสอนหรือบอกถึงเเนวทางในการ impove ร่างกายของผู้เรียน โดนจะมีการพูดคุยอย่างเป็นเหตุเป็นผล ให้ผู้เรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในกิจการอย่างอื่น หรือใช้ในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย
4. We treat
เรามีโปรแกรมต่างๆ สำหรับการทำกายภาพมากมาย เช่น myofascia release, Physio treatment, Pilates และอื่นๆ ที่จะช่วยเสริมสร้างให้ร่างกายและกล้ามเนื้อคุณแข็งแรงและมีความยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น และช่วยลดอาการบาดเจ็บต่างๆจากการออกกำลังอีกด้วย

ท่าวิ่งที่ถูกต้อง

ท่าวิ่งที่ถูกต้อง นักวิ่งควรรู้วิธีการวิ่งที่ถูกต้อง สิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำขณะวิ่ง เพื่อจะไม่ให้เกิดอาการบาดเจ็บได้ในขณะที่วิ่ง Le Physio ช่วยแนะนำคุณได้

วิธีเตรียมพร้อมก่อนวิ่ง

วิธีเตรียมพร้อมก่อนวิ่ง นักวิ่งต้องมีการเตรียมตัวที่ดีก่อนวิ่งเสมอ เตรียมกายเตรียมใจให้ดี และที่สำคัญควรวอร์มอัพร่างกาย และเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมขณะวิ่ง

.