ข้อเท้าพลิก

ข้อเท้าพลิก เป็นการบาดเจ็บที่พบได้บ่อยในนักกีฬา จะพบได้บ่อยในกีฬาที่มีการเคลื่อนไหวรวดเร็ว ทั้งวิ่งและกระโดด รวมถึงเปลี่ยนทิสทางอย่างรวดเร็ว อย่างนักบาสเกตบอล ฟุตบอล แบดมินตัน หรือบุคคลทั่วไปก็สามารถเกิดการบาดเจ็บได้จากการใช้ชีวิตประจําวันได้ ยกตัวอย่างเช่น ในผู้หญิงที่ใส่รองเท้าส้นสูงเป็นประจํา
ซึ่งการเกิดข้อเท้าพลิกก็มักจะกลับมาเกิดซ้ําๆ ที่ข้างเดิม เนื่องจากการเกิดข้อเท้าพลิก ทําให้เส้นเอ็นข้อเท้าได้รับบาดเจ็บ ถูกยืด หรือฉีกขาด ซึ่งเป็นสาเหตุทําให้เกิดข้อต่อหลวม ความมั่นคงของข้อเท้าลดลง รวมทั้งในเส้นเอ็นนั้น มีตัวรับรู้ข้อต่อ (Mechanoreceptor) เมื่อเกิดการบาดเจ็บก็จะทําให้ตัวรับรู้ข้อต่อนั้นเสียหายไปด้วย ซึ่งจะส่งผล ให้การรับรู้ข้อต่อของข้อเท้าลดลง (Propioception) ส่งผลให้ความสามารถในการทรงตัวลดลง (Balance)

ผลเสียจากการเกิดข้อเท้าพลิก
ข้อเท้าพลิกส่งผลให้เกิดภาวะข้อเท้าพลิกเรื้อรัง หรือเกิดการบาดเจ็บที่ข้อต่ออื่นข้างเคียงอย่างข้อเข่าได้

นอกจากนั้น ภาวะข้อเท้าพลิกเรื้อรังอาจเป็นสาเหตุของการเกิดการบาดเจ็บทางอ้อมของส่วนอื่นๆ ในร่างกายก็ได้ หากร่างกายมีพฤติกรรมการเคลื่อนไหว และการลงน้ําหนักที่ไม่เหมาะสมในระยะเวลานาน จากการขาดประสิทธิภาพการทํางานของข้อเท้า ทั้งการสร้างความมั่นคง และความสามารถในการเคลื่อนไหว

ระดับความรุนแรงของข้อเท้าพลิก
ลักษณะอาการของข้อเท้าแพลงแบ่งเป็นระดับต่าง ๆ ได้แก่

ระดับที่ 1 : ปวด บวม กดแล้วเจ็บที่บริเวณเท้า เกิดการยืดหรือฉีกขาดเพียงเล็กน้อยของเส้นเอ็น ในระยะนี้สามารถบรรเทาอาการปวดได้ โดยการประคบเย็น ใน 72 ชั่วโมงหลังการบาดเจ็บหรือลดอาการอักเสบโดยการทำกายภาพบำบัด เช่น ultrasound ,TENS ช่วยลดการอักเสบได้

ระดับที่ 2 : เอ็นและเนื้อเยื่อรอบข้อเท้ามีการฉีกขาดบางส่วน มีอาการปวด บวมที่บริเวณเท้ามาก ระยะนี้ยังคงไม่รุนแรงมากนัก แต่จะมีอาการปวดมากกว่าระดับแรกสามารถทำการประคบเย็น และทำกายภาพบำบัดแบบทีระดับที่แรกได้ และอาจจะสามารถคลายกล้ามเนื้อที่ประคองข้อเท้าให้มี tension ลดลง ลดอการปวดได้

ระดับที่ 3 : ระดับนี้รุนแรงที่สุด เอ็นที่บริเวณเท้ามีการฉีกขาดทั้งหมด มีอาการปวด บวมมาก เดินลงน้ําหนักไม่ได้ ระยะนี้จะมีอาการรุนแรงที่สุด บางรายอาจจะต้องทำการผ่าตัด ระยะนี้หลังจากลดอาการปวด บวม แดง ได้เหมือนระดับแรก แต่การเคลื่อนไหวจะไม่สามารถกลับมาเหมือนเดิมได้ เนื่องจากเอ็นที่ไขว้ข้อเท้าไว้สูญเสีย stability ดึงนั้นในระดับนี้จึงควรจำเป็นอย่างมากในการออกกำลังกาย ในการสร้างกล้ามเนื้อเพื่อเพิ่มความแข็งแรง

การอออกกําลังกายถือว่าเป็นหนึ่งองค์ประกอบในการรักษาที่สําคัญสําหรับผู้ที่มีข้อเท้าพลิกเรื้อรัง จุดประสงค์ หลักคือ
- การเพิ่มความมั่นคงของข้อเท้า (Joint stability)
- เพื่อลดการกลับมาบาดเจ็บซ้ำ
- เพิ่มประสิทธิภาพในการ เคลื่อนไหว
การออกกําลังกายที่จะช่วยเพิ่มความมั่นคงของข้อเท้า ก็จะเป็นพวการออกกําลังกายที่เพิ่มความสามารถ ในการรับรู้ข้อต่อและการทรงตัว (Inprove propioception) อย่างเช่น การออกกําลังกายบน Balancing pad, Balancing disc, Bosu

นอกจากนี้การออกกําลังกายเพื่อเพิ่มองศาการเคลื่อนไหว (Increase range of motion) ก็นับว่าเป็นสิ่งที่สําคัญมากๆ เนื่องจากถ้าเกิดการจํากัดการเคลื่อนไหวของข้อเท้า (Limited range of motion) อาจส่งผลให้ข้อต่ออื่นข้างเคียงเกิดการเคลื่อนไหวเกินความจําเป็นจนเกิดการบาดเจ็บได้ รวมถึงจะทําให้เกิดกล้ามเนื้อน่อง หรือผังผืดใต้ผ่า เท้าตึงตัวได้อีกด้วย

ในการออกกําลังกายไม่เพียงแต่ให้ความสําคัญแค่ข้อเท้า แต่ยังต้องให้ความสําคัญในระบบที่ใหญ่ขึ้นด้วย นั่นก็คือ เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบข้อเท้าและขา (Increase muscle strength) ซึ่งเป็นส่วนสําคัญในช่วยรองรับน้ำหนักที่ข้อเท้ารับควบคุมการทํางานของข้อเท้าให้มั่นคง เพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อแกนกลาง ร่างกาย (Improve core muscle strength) เพื่อทําให้แกนกลางร่างกายนิ่งและมั่นคง เพื่อให้การเคลื่อนไหวของขาสามารถทําได้อย่างมีประสิทธิภาพ

พิลาทีสก็เป็นอีกหนึ่งการออกกำลังกายที่ช่วยเพิ่มการทำงานของร่างกายอย่างที่กล่าวมาเบื้องต้น

ข้อเท้าพลิก
ข้อเท้าพลิก
ข้อเท้าพลิก
.