TENS (Transcutaneous Electrical Nerve Stimulation)

หลายคนกังวลเกี่ยวกับการรักษาโดยการกระตุ้นไฟฟ้า แต่แท้จริงแล้วการกระตุ้นไฟฟ้าเป็นวิธีการรักษาที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถบรรเทาอาการปวดและฟื้นตัวสำหรับสภาวะการบาดเจ็บ

TENS เป็นอุปกรณ์สำหรับกระตุ้นเส้นประสาทด้วยไฟฟ้าผ่านผิวหนัง โดยใช้อิเล็กโทรดเป็นตัวกลางในการนำไฟฟ้าไปสู่ร่างกาย  เพื่อลดอาการปวดแบบเฉียบพลัน (acute pain) เช่น ข้อเท้าพลิก (ankle sprain) หรือการบาดเจ็บเล็กน้อยจากกีฬา

ลดอาการปวดเรื้อรัง (Chronic pain) เช่น อาการปวดหลังล่างเรื้อรัง (chronic lower back pain) , ข้อเท้าพลิกเรื้อรัง (Chronic ankle sprain)

ลดอาการปวดจากภาวะข้อต่ออักเสบ (arthritis)

TENS (Transcutaneous Electrical Nerve Stimulation)

หลายคนกังวลเกี่ยวกับการรักษาโดยการกระตุ้นไฟฟ้าแต่ แท้จริงแล้วการกระตุ้นไฟฟ้าเป็นวิธีการรักษาที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถบรรเทาอาการปวดและฟื้นตัวสำหรับสภาวะการบาดเจ็บ

TENS เป็นอุปกรณ์สำหรับกระตุ้นเส้นประสาทด้วยไฟฟ้าผ่านผิวหนัง โดยใช้อิเล็กโทรดเป็นตัวกลางในการนำไฟฟ้าไปสู่ร่างกาย  เพื่อลดอาการปวด การกระตุ้นไฟฟ้ามีโหมดค่อนข้างหลากหลาย เพื่อให้เหมาะสมของลักษณะและสภาวะของรอยโรคนั้น ๆ

ประโยชน์ของการรักษาด้วย TENS (Transcutaneous Electrical Nerve Stimulation)

  1. ลด/ควบคุมอาการปวดทั้งแบบแบบเฉียบพลัน (acute pain) เช่น ข้อเท้าพลิก (ankle sprain) หรือการบาดเจ็บเล็กน้อยจากกีฬา  และลดอาการปวดเรื้อรัง (Chronic pain) เช่น อาการปวดหลังล่างเรื้อรัง (chronic lower back pain) , ข้อเท้าพลิกเรื้อรัง (Chronic ankle sprain)  ลดอาการปวดจากภาวะข้อต่ออักเสบ (arthritis)
  2. เพิ่มการไหลเวียนเลือด (increase blood circulation)
  3. ลดอาการบวม (decrease swelling)
  4. เพิ่มช่วงการเคลื่อนไหว (increase range of motion)
  5. ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ (reduce apasm)
  6. เพิ่มการรับรู้ของการเคลื่อนไหว (improve body awareness)
  7. เพิ่มการทำงานแบบประสานสัมพันธ์กันของร่างกาย (improve coordination)
  8. ป้องกันหรือลดภาวะกล้ามเนื้อฝ่อลีบ เช่น ผู้ที่ได้รับการใส่เฝือกหลังได้รับการบาดเจ็บ ผู้ที่มิอาการเจ็บปวดและไม่ได้ใช้กล้ามเนื้อเป็นระยะเวลานาน

โดยปฏิกิริยาของ TENS จะสามารถลดอาการปวดโดยจากธรรมชาติ โดยการกระตุ้นเส้นใยประสาทรับความรู้สึกเฉพาะ (รวมถึงเส้นใย A-beta, A-delta และ C) ซึ่งทั้งสองลดความรู้สึกของความเจ็บปวดและปล่อยสารสื่อประสาทที่ช่วยบรรเทาอาการปวด

การรักษาด้วย TENS (Transcutaneous Electrical Nerve Stimulation) เหมาะกับใครบ้าง?

  1. การบาดเจ็บเฉียบพลันจากการเล่นกีฬาหรืออุบัติเหตุจากรถยนต์
  2. ความตึงตัวของกล้ามเนื้อที่มากเกินไปจากการทำงานซ้ำ ๆ เช่น พนักงานออฟฟิศเป็นต้น
  3. กล้ามเนื้อตึงตัวหรือบาดเจ็บ (muscle strain)
  4. ภาวะทางระบบประสาท เช่น โรคหลอดเลือดสมองแตกหรือตีบ (Stroke)
.