Location
ASOKE BTS
Call
092 246 9955
Line Chat
@lephysioclinic
Opening Hours
Mon - Sunday: 7.30AM - 9.30PM

โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis)

เป็นภาวะที่มวลกระดูก (Bone density) ในร่างกายลดลง ซึ่งเมื่ออายุของเราเพิ่มขึ้น ก็จะยิ่งทำให้มวลกระดูกของเราลดลงไปเรื่อยๆ จนทำให้เกิดภาวะกระดูกบาง  โดยมวลกระดูกของเราจะลดลงปีละ 1-3% และ โรคกระดูกพรุน จะพบมากตั้งแต่ผู้ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป อาจจะมากหรือน้อยกว่านี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เพศ ซึ่งในเพศหญิงมีโอกาสเกิดโรคกระดูกพรุนได้มาก ถึง 1 ใน 3 ซึ่งมากกว่าเพศชาย ที่มีอัตราส่วนอยู่ที่ 1 ใน 5 นั่นก็เพราะเป็นผลมาจากการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนในวัยหมดประจำเดือน นอกจากนั้นปัจจัยด้านพันธุกรรม พฤติกรรมการใช้ชีวิต อาหารที่ทาน และการใช้ยาบางชนิด ล้วนมีผลต่อมวลกระดูกทั้งหมด สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือหลายคนไม่รู้ตัวว่าตนเองกำลังมีภาวะกระดูกบาง หรือกระดูกพรุนอยู่ เนื่องจากโรคนี้ไม่มีสัญญาณเตือน และจะค่อยๆ เกิดขึ้นอย่างช้าๆ ซึ่งกว่าเราจะรู้ตัวอีกทีก็มีอาการปวดไปแล้ว และที่น่ากลัวยิ่งไปกว่านั้น ในบางรายที่มีภาวะกระดูกพรุนอย่างรุนแรงจะมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดกระดูกหักได้

รู้หรือไม่ว่า...แรงโน้มถ่วงของโลกส่งผลดีต่อมวลกระดูก ยิ่งอายุเพิ่มมากขึ้นหลายคนจะยิ่งกลัวการออกกำลังกายพวก High impact ไม่กล้าวิ่ง หรือ กระโดด แต่ทว่าแรงกระทำหรือแรงกดที่กระดูกนั้นสำคัญต่อมวลกระดูกมาก ยกตัวอย่างในนักบินอวกาศเมื่ออยู่ในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วงเป็นระยะเวลานานจะส่งผลให้มวลกระดูกลดลง จึงจำเป็นต้องออกกำลังกายโดยใช้น้ำหนักที่ค่อนข้างเยอะเพื่อรักษาให้มวลกระดูกไม่ลดลงไปกว่าเดิม เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว เราควรหันมาเพิ่มการออกกำลังกายที่ถ่ายน้ำหนักลงบนกระดูกอย่างเหมาะสม จะช่วยป้องกัน ชะลอการเกิดโรคกระดูกพรุนและช่วยเพิ่มมวลกระดูกได้ แต่ไม่ใช่การออกกำลังกายทุกอย่างจะเหมาะสมต่อผู้ที่มีภาวะกระดูกพรุน ดังนั้นผู้มีภาวะกระดูกพรุนควรระวังในการออกกำลังกายที่ไปกระตุ้นอาการบาดเจ็บที่จะเกิดขึ้น

How we treat from Le Physio Clinic

1. We listen
ทางคลินิกจะมีการสอบถามอาการที่เกิดขึ้น เพราะบางคนเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงที่มวลกระดูกจะลดลงแต่ไม่รู้ตัว เนื่องจากไม่ได้พบแพทย์หรือตรวจสุขภาพประจำปี นอกจากนี้ทางเรายังใส่ใจถึงกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ซึ่งอาจเป็นพฤติกรรมที่ส่งเสริมต่อการลดลงของมวลกระดูก และอาการบาดเจ็บที่จะเกิดขึ้นได้
2. We assess
เราจะทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียดกับนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญด้วยวิธีการที่เหมาะสม ในกรณีที่ผู้ป่วยพบแพทย์เป็นประจำ และมีผลตรวจทางคลินิกจะประเมินอาการตามที่แพทย์ระบุ แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่เคยพบแพทย์ และไม่มีผลตรวจ จะตรวจประเมินตามอาการแต่อยู่ในข้อควรระวังของผู้ที่มีความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุน
3. We educate
ทางคลินิกจะให้ความรู้กับผู้ป่วย เกี่ยวกับสาเหตุของโรคกระดูกพรุน ไม่ว่าจะเป็นอายุที่เพิ่มมากขึ้น พันธุกรรม อาหารที่รับประทาน และการใช้ยาบางชนิด หรือความเสี่ยงที่จะเกิดอาการบาดเจ็บขณะทำกิจกรรมต่างๆ ล้วนมีผลต่อมวลกระดูกทั้งหมด เราจะมีการแนะนำแนวทางในการรักษา เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ รวมถึงปัจจัยต่างๆ ที่ช่วยป้องกันภาวะกระดูกพรุนอีกด้วย
4. We treat
ทางคลินิกจะใช้การออกกำลังกายแบบ Pilates ที่อยู่ภายใต้ข้อควรระวังสำหรับผู้มีภาวะกระดูกพรุน ร่วมกับการทำ Treatment แบบต่างๆ ให้เหมาะสมกับตัวบุคคล เพราะแต่ละคนมีสาเหตุและอาการบาดเจ็บที่แตกต่างกันออกไป ไม่ใช่เพียงเพื่อลดอาการปวดเท่านั้น แต่เรายังมุ่งเน้นไปเรื่องการปรับ Posture การเพิ่มความแข็งแรงและ Balance กล้ามเนื้อ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรม หรือเล่นกีฬาได้โดยไม่มีอาการบาดเจ็บ
.