Location
ASOKE BTS
Call
092 246 9955
Line Chat
@lephysioclinic
Opening Hours
Mon - Sunday: 7.30AM - 9.30PM

ทำไมวิ่งแล้วปวดหลังล่าง

ทำไมวิ่งแล้วปวดหลังล่าง เกิดจากการวิ่งไม่ถูกวิธี และการใช้ชีวิตประจำวัน นักกายภาพคลินิกเราสามารถช่วยวิเคราะห์ร่างกายและออกแบบโปรแกรมฟื้นฟูอาการเจ็บปวดได้

วิ่งยังไงไม่ให้เจ็บเข่า

วิ่งยังไงไม่ให้เจ็บเข่า นักวิ่งบางท่านอาจคิดว่า “การวิ่งยังไงก็ต้องปวดเข่าอยู่แล้ว” ซึ่งเป็นความคิดที่ผิด!! เนื่องจากการวิ่งที่ถูกต้อง ด้วยความพร้อมที่เพียงพอของกล้ามเนื้อ และสรีระท่าทางที่เหมาะสม จะต้องไม่ก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บของเข่าอย่างแน่นอน

ก่อนอื่นเราจะต้องทราบก่อนว่า อาการเจ็บเข่าจากการวิ่ง มีอะไรได้บ้าง อาการเป็นยังไง และมีสาเหตุมาจากอะไร จะทำให้เราสามารถป้องกันและแก้ไขได้

เอ็นสะบ้าอักเสบ (Patellar Tendinitis)

อาการที่พบ : เจ็บปวดบริเวณลูกสะบ้าที่อยู่ใต้เข่า ยิ่งหากอยู่ในท่างอเข่าจะยิ่งรู้สึกปวด

สาเหตุ : เกิดจากการวิ่งที่มีเนินเขา หรือพื้นไม่เรียบ

การดูแลรักษา : พักการวิ่งออกกำลังกาย แล้วประคบด้วยน้ำแข็ง 15-20 นาที 3-4 ครั้งต่อวัน

การป้องกัน : ยืดเหยียดกล้ามเนื้อในท่าที่ช่วยให้บริเวณเข่า ต้นขา และน่องได้ผ่อนคลายทั้งก่อนและหลังวิ่ง ค่อยๆเพิ่มระดับความเข้มข้นของการฝึกซ้อมแบบค่อยเป็นค่อยไป

กระดูกอ่อนข้อเข่าอักเสบ (Runners Knee)

หรือ Patellofemoral Pain Syndrome (PFPS)

อาการที่พบ : ปวดบริเวณเข่า มีอาการมากเมื่อมีการขึ้นลงเนิน หรือมีการงอเข่า

สาเหตุ : เกิดจากการวิ่งที่เพิ่มความเร็วหรือระยะทางที่มากเกินไปขาดการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ การขึ้นเนินหรือบันไดที่สูงชัน

การดูแลรักษา : พักจากการวิ่ง แล้วประคบด้วยน้ำแข็ง 15-20 นาที วันละ 2-3 ครั้ง จนกว่าอาการจะดีขึ้น

การป้องกัน : ยืดเหยียดกล้ามเนื้อก่อนและหลังออกกำลังกายสวมใส่รองเท้าที่เหมาะสม วิ่งในพื้นที่ไม่แข็งและเนินสูงจนเกินไป

วิ่งยังไงไม่ให้เจ็บเข่า รู้หรือไม่ว่าในขณะที่วิ่ง เรามีการลงน้ำหนักอยู่บนขาข้างเดียว ซึ่งจะต้องรับน้ำหนักถึง 2.5 เท่าของน้ำหนักตัว

 

ดังนั้นหากเรามีท่าทางการวิ่งที่ไม่ถูกต้อง ก็จะส่งผลอย่างมากต่อข้อเข่า ซึ่งสิ่งที่ควรทำในขณะที่วิ่งก็คือการวางส้นเท้าให้อยู่ใต้ต่อกระดูกรองนั่ง (sit bone) เพื่อให้เข่าสามารถรองรับน้ำหนัก 2.5 เท่าได้อย่างเหมาะสมนั่นเอง เพราะถ้าหากคุณวางเท้าไปทางด้านหน้ามากเกินไป หรือที่เรียกว่า Over striking ก็จะทำให้เกิดการบาดเจ็บของข้อเข่าแน่นอน

และอีกสิ่งที่สำคัญนอกจากท่าทางในการวิ่งแล้ว นั่นก็คือ Posture

ก่อนเริ่มโปรแกรมการรักษาฟื้นฟู ทาง  Le Physio Clinic จะมีการทำ Body reading และ Posture analysis เพื่อประเมินสรีระของร่างกาย การจัด alignment หรือการวางตัวของข้อต่อ ซึ่งอาจส่งผลต่อท่าทางในการวิ่ง รวมถึงการทรงตัวบนขาข้างเดียว

 

เช่น ผู้ที่มีปัญหาการผิดรูปของข้อเข่า เช่น เข่าบิด ขาเป็ด ขาโก่ง ก็อาจะมีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บที่ข้อเข่าได้มากกว่า ซึ่งภาวะดังกล่าว ไม่จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไขเสมอไป เพียงแค่คุณปรับเปลี่ยนการทำงานของกล้ามเนื้อให้เกิดความสมดุล

วิ่งยังไงไม่ให้เจ็บเข่า   วิธีการที่เราจะช่วยรักษาคุณ

  • Physiotherapy treatment ทางกายภาพบำบัดของ Le Physio Clinic เราสามารถให้การรักษาได้ตั้งแต่ในระยะแรกของการบาดเจ็บ ซึ่งอาจจะมีอาการอักเสบ ปวดบวมแดงร้อน ซึ่งการรักษาจะเป็นการประคบเย็นเพื่อลดการขยายตัวของหลอดเลือด ลดอาการอักเสบ และการทำอัลตราซาวน์ด้วยเทคนิค non thermal effect หรือไม่ทำให้เกิดความร้อน เพื่อช่วยเพิ่มกระบวนการซ่อมสร้างของร่างกาย กระตุ้นให้ระยะการอักเสบผ่านไปไวขึ้น หรือแม้แต่การบาดเจ็บเรื้อรังที่อาจทำให้เกิดภาวะข้อติด เราสามารถใช้เทคนิค Mobilization เพื่อเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหว หรือการอัลตราซาวน์เพื่อเพิ่มการขยายตัวของหลอดเลือด ลดอาการปวดได้
  • Myofascial release technique เพื่อช่วยปรับ Posture ซึ่งเป็นการ Balance tension ของ Fascia หรือคลายความตึงตัวของผังพืดที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของร่างกาย
  • Clinical Pilates workout สุดท้ายโปรแกรมการเรียนพิลาทิสที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับคุณ ไม่ว่าจะเป็นการจัด alignment ของข้อเท้า ข้อเข่า ข้อสะโพก การเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขา และก้น รวมถึงเน้นการทำงานของ Back chain หรือ Hamstring เพิ่มการทำงานของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว และกระตุ้นประสิทธิภาพในการทรงตัวบนขาข้างเดียว และที่สำคัญที่สุดคือการปรับเปลี่ยน Posture เพื่อให้บุคลิกภาพในขณะที่วิ่งนั้นมีความเหมาะสมมากที่สุด

Le physio จะดูแลคุณอย่างไรบ้าง?

1. We listen
เรามีทีมนักกายภาพในการดูแลในครั้งแรก โดยจะมีการประเมินอาการบาดเจ็บก่อนทุกครั้งที่มาในครั้งแรก นอกจากนั้นยังช่วยดูแลในส่วนของ การปรับ posture อีกด้วย
2. We assess
มีการประเมินผล เป็นระยะๆดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิดรวมถึง มีทีมในการช่วยคิดออกแบบโปรแกรมให้เข้ากับตัวผู้เรียน ให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์สูงสุด ทีมของเราเป็นกันเอง เสมือนผู้เรียนกำลังคุยกับเพื่อนคนหนึ่ง ที่จะช่วยให้ผู้เรียนแก้ไขปัญหาได้
3. We educate
มีการสอนหรือบอกถึงเเนวทางในการ impove ร่างกายของผู้เรียน โดนจะมีการพูดคุยอย่างเป็นเหตุเป็นผล ให้ผู้เรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในกิจการอย่างอื่น หรือใช้ในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย
4. We treat
เรามีโปรแกรมต่างๆ สำหรับการทำกายภาพมากมาย เช่น myofascia release, Physio treatment, Pilates และอื่นๆ ที่จะช่วยเสริมสร้างให้ร่างกายและกล้ามเนื้อคุณแข็งแรงและมีความยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น และช่วยลดอาการบาดเจ็บต่างๆจากการออกกำลังอีกด้วย

ท่าวิ่งที่ถูกต้อง

ท่าวิ่งที่ถูกต้อง นักวิ่งควรรู้วิธีการวิ่งที่ถูกต้อง สิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำขณะวิ่ง เพื่อจะไม่ให้เกิดอาการบาดเจ็บได้ในขณะที่วิ่ง Le Physio ช่วยแนะนำคุณได้

วิธีเตรียมพร้อมก่อนวิ่ง

วิธีเตรียมพร้อมก่อนวิ่ง นักวิ่งต้องมีการเตรียมตัวที่ดีก่อนวิ่งเสมอ เตรียมกายเตรียมใจให้ดี และที่สำคัญควรวอร์มอัพร่างกาย และเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมขณะวิ่ง

อาการเจ็บหลังล่างจากการเล่นโยคะ

อาการเจ็บหลังล่างจากการเล่นโยคะ เกิดจากการเล่นท่าโยคะที่ผิดวิธี ควรเล่นควบคู่ไปกับการเล่นพิลาทิส ร่างกายจะสมดุลมากยิ่งขึ้น

บาดเจ็บจากการเล่นโยคะ

บาดเจ็บจากการเล่นโยคะ เกิดขึ้นเป็นปกติ เพราะผู้เล่นเล่นไม่ถูกวิธี ได้รับการดูแลจากผู้สอนไม่ทั่วถึง จึงทำให้เกิดอาการบาดเจ็บต่างๆ และต้องได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

Guillain-Barré syndrome

Guillain-Barré syndrome (GBS) หรือกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร (Guillan Barre Syndrome) หรือ ภาวะภูมิคุ้มกันแปรปรวน เกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติและผลิตสารภูมิคุ้มกันหรือแอนติบอดี ออกมาทำลายเซลล์ประสาทของระบบประสาทรอบนอกจนอักเสบและสูญเสียการทำงาน ซึ่งมีรายงานจากต่างประเทศกล่าวถึงโอกาสในการเกิดโรค GBS ที่เชื่อมโยงกับการฉีดวัคซีน Covid-19 เนื่องจากวัคซีน เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่อาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติได้

โดในปัจจุบันทางการแพทย์แบ่งกลุ่มอาการ GBS ออกเป็นหลายชนิด โดยชนิดหลัก ๆ ที่มักพบมีดังนี้

  • Acute Inflammatory Demyelinating Polyradiculoneuropathy: AIDP เป็นชนิดที่พบได้มากที่สุด อาการทั่วไปคือกล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยเริ่มจากอวัยวะส่วนล่างของร่างกายอย่างเท้าและขา แล้วค่อย ๆ ลุกลามขึ้นไปยังอวัยวะส่วนบน เช่น แขน ใบหน้า เป็นต้น
  • กลุ่มอาการมิลเลอร์ ฟิเชอร์ (Miller Fisher Syndrome: MFS) กลุ่มอาการ GBS ชนิดนี้พบบ่อยในชาวเอเชีย ผู้ป่วยจะเกิดอัมพาตบริเวณดวงตาเป็นอันดับแรก
  • Acute Motor-Sensory Axonal Neuropathy: AMSAN และ Acute Motor Axonaสาเหตุของการเกิดโรคนี้Neuropathy: AMAN เป็นชนิดที่มักพบในคนจีน ญี่ปุ่น และเม็กซิกันเป็นหลักซึ่งเป็นรูปแบบที่พบได้น้อยที่สุด

สาเหตุของกลุ่มอาการ Guillain-Barré syndrome (GBS)

เมื่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายหันมาทำลายเซลล์ประสาทของระบบประสาทรอบนอก ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวกลางคอยแปลงสัญญาณจากสมองเพื่อส่งไปยังกล้ามเนื้อให้เคลื่อนไหวตามคำสั่ง เซลล์ประสาทจะเกิดการอักเสบและสูญเสียการทำงาน ส่งผลให้กล้ามเนื้อรับสัญญาณที่สมองส่งมาไม่ได้และมีอาการของ GBS ดังข้างต้น

ทั้งนี้ กลุ่มอาการ GBS เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่ผู้ป่วยส่วนมากอยู่ในวัยผู้ใหญ่ และเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง โดยในปัจจุบันทางการแพทย์ยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัดของกลุ่มอาการนี้ แต่เชื่อว่าอาจมีปัจจัยเสี่ยงบางอย่างที่กระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำงานผิดปกติ ได้แก่

  • การติดเชื้อโดยเฉพาะเชื้อ Campylobacter Jejuni ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่ทำให้เกิดอาการท้องเสียและเป็นปัจจัยเสี่ยงหลักที่อาจก่อให้เกิดกลุ่มอาการ GBS ตามมา รวมถึงการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารจากเชื้อโรคอื่น ๆ การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น
  • วัคซีนเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่อาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ แต่มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมาก

การรักษากลุ่มอาการ GBS

กลุ่มอาการ GBS ไม่มียาหรือวิธีรักษาเฉพาะ ในระยะแรก ทางการแพทย์อาจใช้วิธี เช่น การแลกเปลี่ยนพลาสม่า (Plasmapheresis) และ การบำบัดรักษาด้วยอิมมูโนโกลบูลิน (Immunoglobulin Therapy) เป็นต้น

นอกจากนี้ การรักษาโดย Physical Therapy มีส่วนสำคัญในการช่วยฟื้นฟูผู้ป่วย ต่อจากระยะแรก ซึ่งในการฟื้นฟูร่างกายสามารถเยียวยาตนเองได้ เพียงแต่ต้องใช้ระยะเวลา แนวทางการรักษาเพื่อประคับประคองอาการไม่ให้แย่ลง และช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วขึ้น โดยนักกายภาพจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการเคลื่อนไหว ป้องกันการยึดติดของเนื้อเยื่อ,ข้อต่อ เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ป้องกันการฝ่อลีบ เพื่อกลับมาทำกิจกรรม เช่น ยืน,เดิน ได้ ช่วยฝึกให้หายใจให้ถูกต้อง ช่วยลดภาวะหอบเหนื่อย กระตุ้นให้ออกกำลังกายกายที่เหมาะสม ไม่หนักและเหนื่อยจนเกินไป ทั้งนี้ ระยะเวลาการรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคที่แตกต่างกัน

Guillain-Barré syndrome(GBS)

It is a disease in which the muscles and internal organs of the body are lost. Due to the immune system, patients with this disease will have abnormalities and injure the peripheral nervous system of the body. The peripheral nervous system that this includes the nerves that connect.

With the brain and spinal cord connected to the limbs as well Which is responsible for the movement of muscles

The symptoms that will occur are tingling along the nerves. Including weakness of the feet and legs Which these feelings will extend to the arms and face

Other common symptoms of Guillain-Barré syndrome include:
Symptoms of beriberi and tingling like a needle in the fingertips, big toe, ankles, or wrists
Muscle weakness that starts in the legs and spreads to the upper body
Does not walk straight
Difficulty moving face and eyes (The blink of an eye Chewing and speaking)
Difficulty controlling urination and urination
Faster heart rate
Difficult breathing

In GBS, there is no immediate cure. It may take a long time. Most of the patients die from complications such as bedtime, tiredness, rapid heartbeat.

We cannot prevent it because it is a neurological disease. But we can help restore the patient’s body by

  • Exercise to increase muscle power
  • Practice proper breathing Help reduce asthma
  • Exercise that is not too heavy and tired.
  • Exercise without impact
  • Practice to move the joints in proper posture
.