ทำไมวิ่งแล้วปวดหลังล่าง
ทำไมวิ่งแล้วปวดหลังล่าง อาการปวดหลังล่างเป็นอีกหนึ่งการบาดเจ็บที่พบได้บ่อยในนักวิ่ง โดยมีสาเหตุหลักมาจากภาวะ Lower cross syndrome ซึ่งเป็นสิ่งที่มักพบได้ในพนักงานออฟฟิศ แต่ทำไมถึงเกิดในนักวิ่งได้ล่ะ? วันนี้มีคำตอบมาฝากกัน..
Lower cross syndrome คือ หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดหลัง ทำให้กล้ามเนื้อเสียความสมดุล (muscle imbalance) จากความทำงานไม่สัมพันธ์กันของกล้ามเนื้อสองฝั่ง ทำให้โครงสร้างร่างกายเปลี่ยนแปลง ดังนี้
1.หลังส่วนล่างจะแอ่นมากขึ้น (Thoraco-lumbar hyper extension)
2.กระดูกเชิงกรานจะหมุนไปข้างหน้า (Anterior pelvic tilt )
3.กล้ามเนื้อหน้าสะโพกและต้นขาด้านหลังจะตึงและหดสั้น (Tightness Iliopsoas and Hamstrings muscles)
4.กล้ามเนื้อท้องและก้นจะอ่อนแรง (weakness abdominals and Gluteus muscles)
จากรูปข้างต้นจะเห็นได้ว่า เป็นเหมือนท่าทางในขณะที่คุณวิ่งนั่นเอง เนื่องจากการวิ่งจะส่งผลให้เรามีกล้ามเนื้อกลุ่มหน้าสะโพก หรือ Hip flexors หดสั้นและตึงตัว โดยอาจเกิดได้จากการใช้ชีวิตประจำวันร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็น การนั่งทำงานนานๆ ท่านั่งขับรถ การใส่ส้นสูง หรือแม้แต่การนอนท่าคดคู้ ซึ่งเมื่อกล้ามเนื้อกลุ่มนี้หดตัวมากขึ้นโดยที่เราไม่ได้ตั้งใจ จนกลายเป็นสรีระอย่างหนึ่งของร่างกาย ดังนั้น มันจะไปดึงให้กระดูกเชิงกรานหมุนไปทางด้านหน้า กระดูกสันหลังส่วนล่างก็จะแอ่นตัว ทำให้กล้ามเนื้อหลังทำงานหนัก
เมื่อกล้ามเนื้อดังกล่าวเสียสมดุลไป ในขณะที่เราวิ่งก็จะทำให้กล้ามเนื้อหลังที่ไม่มีความยืดหยุ่นได้รับบาดเจ็บได้นั่นเอง
นอกจากนี้ อีกสาเหตุหนึ่งของการปวดหลังส่วนล่างในนักวิ่งนั่นคือ การที่เราไม่มีการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังส่วนอก หรือ Thoracic spine นั่นเอง
จากประโยคที่ว่า “When something doesn’t move, something has to move more” คือในขณะที่เราวิ่ง การก้าวหน้าข้างหนึ่งไปทางด้านหน้า จะทำให้เกิดการบิดหมุนของกระดูกสันหลังส่วนอกไปยังด้านตรงข้าม แต่เมื่อเรามี Stiffness หรือการติดขัดของกระดูกสันหลังส่วนอกแล้ว ก็จะทำให้เกิดการบิดหมุนไปที่กระดูกสันหลังส่วนเอว หรือช่วง Lumbar spine ซึ่งเป็นส่วนที่ไม่ควรเกิดการบิดหมุนในช่วงการเคลื่อนไหวที่มากเกินไป ก็สามารถทำให้เกิดการบาดเจ็บได้เช่นกัน
ทำไมวิ่งแล้วปวดหลังล่าง
แล้วมีวิธีลดอาการปวดหลังล่างขณะวิ่งได้อย่างไร?
สำหรับการลดความเสี่ยงของอาการปวดหลังล่างในขณะที่วิ่ง สามารถทำได้โดย
- ปรับสรีระร่างกาย หรือ Posture ให้เหมาะสมกับการวิ่ง
- สร้างกล้ามเนื้อให้มีความแข็งแรงและความยืดหยุ่นอย่างสมดุลกัน
- เพิ่มการเคลื่อนไหวของทรวงอก โดยปรับเปลี่ยนตั้งแต่วิธีการหายใจ เพิ่มการบิดหมุนของช่วงกระดูกสันหลังที่จำเป็นต่อการวิ่ง
- เข้าใจร่างกายตนเอง และเข้าใจท่าทางที่ถูกต้องในการวิ่ง
ทาง Le Physio Clinic จะทำการตรวจประเมินร่างกายของคุณโดยการทำ Body reading และ Posture analysis เพื่อให้เกิดความเข้าใจทั้งต่อตัวผู้เรียนและผู้สอนว่าปัญหาหลักของอาการบาดเจ็บเกิดจากอะไร ซึ่งจะทำให้เป็นประโยชน์ต่อการวางแผนการรักษาฟื้นฟูทั้งวิธีการทางกายภาพบำบัดและการออกกำลังกายพิลาทิสนั่นเอง หากคุณมีความสนใจ สามารถติดต่อเพื่อเข้ารับการตรวจประเมินเบื้องต้นโดยนักกายภาพบำบัดโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย