อาการปวดก้นหลังจากปั่นจักรยาน
สาเหตุของ อาการปวดก้นหลังจากปั่นจักรยาน หรือขณะปั่นจักรยาน เกิดได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นการใส่กางเกงที่ไม่พอดีกับสรีระของนักปั่น หรือการเลือกใช้เบาะที่ไม่เหมาะกับสรีระของนักปั่น ส่วนวิธีที่จะช่วยลดอาการเจ็บเบื้องต้น มีดังนี้
สิ่งแรกที่ควรทำก่อนเลือกซื้อเบาะจักรยาน คือการวัดสรีระของนักปั่นเพื่อหารูปแบบและขนาดที่เหมาะสม ที่ร้านตัวแทนจำหน่าย Selle Italia มีเครื่อง Id match ที่จะช่วยหาเบาะที่เหมาะสมสำหรับนักปั่น และเบาะ Test เอาไว้ให้นักปั่นได้ลองนั่งก่อนตัดสินใจเลือกซื้อเบาะ
หลังจากที่เราวัดสรีระของร่างกายและได้ขนาดเบาะจักรยานแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ การเลือกเบาะให้เหมาะกับการใช้งาน เช่น การปั่นแบบ Off-road , Road หรือระยะเวลาที่ใช้ในการปั่น เพราะดีไซน์ของเบาะแต่ละแบบถูกคิดค้นมาเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานแต่ละประเภท
กางเกงก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงถึง เพราะถ้านักปั่นใส่กางเกงที่ไม่พอดีหรือใหญ่เกินไป อาจจะก่อให้เกิดอาการเจ็บก้นได้ ดังนั้นควรเลือกกางเกงปั่นจักรยานที่พอดีกับนักปั่นมากกว่ากางเกงกีฬาทั่วไป
อาการปวดก้นหลังจากปั่นจักรยาน
เราพอทราบกันแล้วว่าในการปั่นจักรยานนั้น ต้องการกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น กล้ามเนื้อสะโพกหรือกล้ามเนื้อก้น (Gluteal muscle) , Iliopsoas muscle หรือกล้ามเนื้อที่เรียกว่า Hip flexor คือกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ในการงอสะโพกมาทางด้านหน้า (Hip flexion), กล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง (Hamstring muscles), กล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า (Quadriceps Muscle), กล้ามเนื้อหน้าแข้งด้านหน้า (Tibealis Anterior) อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นหากกล้ามเนื้อทำหน้าที่ ที่ไม่ใช่ของตัวเอง อาจจะทำให้เกิดความอ่อนแรง หรือแม้แต่การตึงตัวแค่จุดใดจุดหนึ่ง ก็จะส่งผลต่อส่วนอื่นๆ
ซึ่งย้อนถามว่าปกติคุณเองออกกำลังกายกล้ามเนื้อก้นมากหรือน้อยแค่ไหน แล้วปกติคุณต้องออกกำลังกายในรูปแบบเฉพาะเจาะจงกล้ามเนื้อนั้นๆหรือป่าว? คำตอบที่ได้ก็เหมาะจะตอบว่า ทำไมเราต้องออกกำลังกล้ามเนื้อก้นด้วย? ออกแล้วก้นจะใหญ่หรือป่าว...
กล้ามเนื้อก้นหรือกล้ามเนื้อสะโพก (Gluteal muscle group) ถือเป็นกล้ามเนื้อที่สำคัญมากส่วนหนึ่ง ทำหน้าที่ในการเหยียดขาตรงและยังค่อยประคองกระดูกสันหลังส่วนล่าง หากจะเปรียบให้เห็นภาพ ให้มองตัวเราเป็นบ้านหนึ่งหลัง ฐานบ้านที่ทำให้บ้านเรามั่งคงได้นั้นก็คือกระดูกเชิงกรานที่เชื่อมต่อกับกระดูกสันหลังอีกที และมีเกาะที่ป้องกันด้วยกล้ามโดยรอบ หากกล้ามเนื้อพวกนี้เสียสมสมดุลไปจะส่งผลอย่างมากต่อโครงสร้างร่างกายส่วนอื่นๆ อาจจะไม่ได้ส่งผลแค่จุดตรงนั้น แต่อาจจะส่งผลต่อส่วนอื่นๆได้เช่นกัน
การมีท่าทาง (Posture) ที่ดี และการมีกล้ามเนื้อส่วนต่างๆที่แข็งแรงมากพอ จะคอยช่วยให้การปั่นจักรยาน หรือแม้แต่การใช้ชีวิตประจำวันเป็นไปได้อย่างราบรื่น ไม่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บตามมา
ทั้งนี้การออกกำลังกายแบบเฉพาะเจาะจงในรูปแบบพิลาทิส จะช่วยในเรื่องของความแข็งแรงทุกสัดส่วนของร่างกาย และมักใช่สำหรับการฟื้นฟูกล้ามเนื้อหลังการบาดเจ็บอีกด้วย เพราะเป็นกีฬาประเภทที่ปลอดภัยที่สุด เหมาะกับทุกเพศทุกวัย ไม่มีแรงกระแทกใดใดที่ส่งผลต่อระบบกระดูกในคนอายุเยอะ เน้นการใช้กล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว เพื่อปรับสมดุลของโครงสร้างร่างกายให้อยู่ในรูปแบบที่ถูกต้องที่ควรจะเป็นมากที่สุด