Knee Injuries

knee problems

Symptoms อาการทั่วไป

อาการของอาการปวดเข่าส่วนมากจะขึ้นอยู่กับเนื้อเยื่อที่เกิดการบาดเจ็บ อาการบางอย่างสามารถเกิดร่วมกันได้ โดยส่วนมากจะมีอาการดังนี้

• มีอาการเข่าบวมหรือเข่าติด
• มีรอยแดงหรือรู้สึกร้อนเมื่อสัมผัส
• รู้สึกไม่มีแรงและไม่มั่นคง
• มีเสียงภายในข้อเข่าเวลาขยับ
• รู้สึกไม่มั่นคงเมื่อต้องเหยียดเข่าสุด

ควรที่จะปรึกษาแพทย์หรือรับการรักษาก็ต่อเมื่อ

• รู้สึกไม่สามารถทิ้งน้ำหนักที่เข่าข้างนั้นได้
• เข่าเริ่มมีอาการบวม
• ไม่สามารถงอเข่าหรือเหยียดเข่าสุดได้
• เห็นความผิดปกติที่ขาหรือเข่าชัดเจน
• มีไข้และมีอาการ ปวด บวม แดง ร้อนที่บริเวณเข่า
• มีอาการปวดเข่ารุนแรง

Common knee injuries

​Knee Ligament Injury for example ACL injury. the anterior cruciate ligament (ACL) — หนึ่งใน 4 ของเอ็นกระดูกที่เชื่อมระหว่างกระดูกต้นขาและกระดูกหน้าแข้ง ส่วนมากจะเกิดจากอุบัติเหตุในกีฬาที่มีการเร่งความเร็วแล้วหยุดอย่างกระทันหัน มีการกระแทกและการกระโดดเป็นต้น

​Fractures. กระดูกของหัวเข่าจะรวมไปถึง ลูกสะบ้า สามารถเกิดได้จากุบัติเหตุทางรถตนย์หรือการตกจากที่สูง สำหรับคนที่กระดูกไม่แข็งแรงเช่นคนที่ป็นโรคกระดูกพรุนจะมีความเสี่ยงในการเกิดมาก

​Meniscus tear. หมอนรองกระดูกเข่ามีลักษณะเป็นกระดูกอ่อนที่มีความเหนียวเหมือนยาง มีหน้าที่ในการรับแรงกระแทกระหว่างกระดูกต้นขาและกระดูกหน้าแข้ง สามารถมีอาการบาดเจ็ฐหรือฉีกขาดได้ถ้าหากมีการบิดเข่าด้วยความเร็ซขณะที่เขากำลังรับน้ำหนักอยู่

​Knee bursitis. ถุงน้ำในเข่าที่มีหน้าที่ในการลดการเสียงสีของกระดูและเอ็นบริเวณเข่า การอักเสบของถุงน้ำลดการเสียดสีในเข่า เกิดจากถุงน้ำที่ทำหน้าที่ลดการเสียดสีและกันกระแทกระหว่างกระดูกและเอ็นบริเวณเข่าเกิดการอักเสบ ซึ่งมักเกิดในถุงน้ำเหนือกระดูกสะบ้า หรือถุงน้ำใต้ข้อต่อเข่า ส่งผลให้เจ็บที่เข่า และเคลื่อนไหวเข่าได้ลำบาก สาเหตุหลักมักเกิดจากการนั่งคุกเข่าบนพื้นผิวแข็งเป็นประจำ จึงทำให้ในบางครั้งอาการนี้ถูกเรียกว่า เข่าแม่บ้าน (Housemaid’s Knee) ซึ่งเลียนมาจากลักษณะท่าทางการทำงานของแม่บ้านที่มักคุกเข่านั่นเอง

​Patellar tendinitis. โรคเอ็นสะบ้าอักเสบ เกิดจากการบาดเจ็บของเอ็นที่ยึดกระดูกตั้งแต่บริเวณสะบ้าไปจนถึงบริเวณหน้าแข้ง ซึ่งทำหน้าที่ควบคู่ไปกับกล้ามเนื้อต้นขาส่วนหน้า ทำให้สามารถงอหรือยืดเข่าได้ โดยมักเกิดในนักกีฬาที่ต้องใช้กำลังกระโดดอยู่เสมอ เช่น นักบาสเก็ตบอล นักวอลเลย์บอล

How to check how is your leg Alignment?

• feet (high arch, normal or flat feet) ลักษณะของเท้าแต่ละคนส่งผลต่อการลงน้ำหนักของขา การเดิน การวิ่งและการทรงตัว อีกทั้งยังสามารถบอกได้ถึงความไม่สมดุลกันของกล้ามเนิ้อรอบ ๆ ได้อีกด้วย
• ankle (pronation neutral or supination) ข้อเท้าของแต่ละคนจะบ่งบอกการลงน้ำหนักของเท้า ถ้าหากข้อเท้ามีการบิดเข่าด้านในเยอะ นั่นหมายถึง น้ำหนักส่วมมากจะมาอยู่ที่ด้านในของขา ซึ่งอาจจะส่งผลต่อหัวเข่าได้ในอนาคต
• feet and ankle mobility การที่ข้อเท้าและเท้า มีการเคลื่อนไหวที่ดีจะส่งผลให้ลดการเคลื่อนไหวและแรงที่กระทำต่อเข่าได้ เพราะข้อต่อแต่ละข้อจะช่วยกันขยับเพื่อรองรับแรงที่กระทำนั้น แต่ถ้าหากข้อเท้าและเท้าไม่มีการเคลื่อนไหวที่ดี การเคลื่อนไหวและแรงที่กระทำทั้งหมดจะตกลงที่เข่าอย่างเดียว ทำให้เสียงต่อการบาดเจ็บมากยิ่งขึ้น
• knee (knock knee, neutral, blow leg, hyperextend or knee flexion) ตำแหน่งของเข่าจะสามารถบอกได้ถึงพฤติกรรมการทำงานของกล้ามเนื้อขา ฝั่งไหนทำงานเป็นประจำทำให้มีแรงที่กระทำเยอะ ฝั่งไหนไม่เคยใช้งานทำให้กล้ามเนื้อถึงดึงยืดยาวออก เป็นสาเหตุของการเกิดกล้ามเนื้อไม่สมดุลกัน (muscle imbalance)
• hip mobility ใกล้เคียงกับการทำงานของข้อเท้า ถ้าสะโพกสามารถเคลื่อนไหวได้ดีที่มีความแข็งแรง การเคลื่อนไหวและแรงที่กระทำต่อเข่าก็จะลงลด อีกทั้งการเคลื่อนไหวของสะโพกยังส่งผลต่อ Posture ของคน ๆ นั้นอีกด้วย
• muscle strength ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
• muscle stabilize ความมั่นคงของกล้ามเนื้อ
• muscle flexibility ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ
• posture

Knee exercises

• thigh
✓ Quadriceps
✓ Hamstring
✓ ITB
✓ Inner thigh
• gluteus
✓ gluteus max
✓ med
• hip mobility
✓ hip flexor
✓ pelvic tile
✓ hip hiking
• ankle mobility
✓ feet segmental movement
✓ activated arch of foot
✓ Achilles tendon
✓ Calf
• Spine mobility
✓ Spine Articulation
• core muscle

Knee post surgery

ถ้าหากได้รับการบาดเจ็บหรือมีการผ่าตัดที่บริเวณหัวเข่า แล้วต้องการออกกำลังกาย ต้องทำอย่างไร?

หลังบาดเจ็บผ่าตัด จนถึง 2 สัปดาห์แรก

ในช่วงแรก ถ้าหากผู้ป่วยยังมีอาการอักเสบ (ปวด บวม แดง ร้อน) จำเป็นต้องรักษาและลดอาการเหล่านี้ก่อน โดยใช้หลักการ RICE หรือรับประทานยาเพื่อให้อาการอักเสบทุเลาลง

ถ้าหากอาการ ปวด บวม แดง ร้อน หายไปแล้ว ให้ป่วยฝึกการงอเข่าและเหยียดเข่าให้ได้สุดหลังจากผ่าตัด 2 สัปดาร์แรก ป้องกันเข่าติดหลังจากผ่าตัด เริ่มขยับข้อต่อเบา ๆ และช้าๆ

1. พาเดินช้า ๆ
2. นั่งห้อยขา เตะขาข้างที่ผ่าตัดขึ้นให้สุด โดยให้ขาอีกข้างช่วย
3. นั่งเหยียดขา ดึงเข่ากลับมา ชันเข่า อาจจะใช้ผ้าช่วยดึงในช่วงแรก
4. นอนคว่ำ เตะขาเข่าหาก้น

เริ่มออกกำลังกายแบบ isometric contraction (การเกร็งกล้ามเนื้อเพื่อเพิ่มความแข็งแรง) เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงและป้องกันการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อ

1. knee press นั่งเหยียดขา เอาผ้ามารอง ยกข้อเท้าสูง เกร็งขา กดเข่าลง ให้ต้นขาเกร็ง
2. ankle pump กระดกข้อเท้าขึ้นและกดปลายเท้าลง
3. heel slide นอนหงาย ลากส้นเท้าเข้าหาก้น
4. leg raise ขาเหยียดตรง ยกขาขึ้น โดยเท่าเข่าไม่พับ
5. short arch quadriceps เอาหมอนรองใต้เข่า เตะขาขึ้น ให้ต้นขาเกร็ง

เพิ่ม Range of motion เสริมสร้างความแข็งแรงและความมั่นคงของกล้ามเนื้อบริเวณที่ผ่าตัดและกล้ามเนื้อโดยรอบ ทำให้กล้ามเนื้อทั้งร่างกายกลับมาสมดุลกันเพื่อลดโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดอาการบาดเจ็บซ้ำ

knee-pain-injuries - Real Case

Miss Fah - PhysioPilates

สวัสดีค่ะวันนี้ฟ้าจะมารีวิวเคสของคุณ Enrique นะคะ อาการแรกพบวันแรกที่เจอกันก็คือ มีอาการเจ็บตึงที่ข้อพับเข่าไม่สามารถเหยียดเขาได้สุด ร่วมกับมีอาการเจ็บที่ใต้หัวเข่าทางข้างขวา ซึ่งการวินิจฉัยทางการแพทย์ได้ตรวจพบว่าหมอนรองกระดูกเข่าข้างขวาฉีกขาดทางด้านใน แพทย์แนะนำให้พิจารณาผ่าตัด แต่ว่าคุณ Enrique ตัดสินใจมาลองทำกายภาพบำบัดร่วมกับพิลาทิสก่อน ซึ่งหมอนรองกระดูกตัวนี้ชื่อว่า Medial meniscus เป็นโครงสร้างที่ทำหน้าที่ดูดซับแรงกระแทกขณะที่เราทำกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการยืน เดิน กระโดด ซึ่งคุณ Enrique เนี่ยเป็นนักกีฬาเทนนิส

แน่นอนเลยว่ากิจกรรมของคุณ Enrique ต้องมีการกระแทกเต็มๆ แน่นอนซึ่งเมื่อเจ้าโครงสร้างนี้ได้รับบาดเจ็บ ส่งผลให้การกระจายและดูดซับแรงของข้อเข่าเราก็จะเสียสมดุลไป ทำให้ต้องมีการชดเชยของร่างกายเพื่อทำให้ร่างกายของเรายังคงปลอดภัยอยู่ ซึ่งนั่นส่งผลให้มีกล้ามเนื้อหดเกร็งขึ้นมาค่ะ ซึ่งกล้ามเนื้อตัวนี้อยู่ด้านหลังข้อพับเข่า มีชื่อว่า Popliteus เป็นกล้ามเนื้อเจ้าปัญหา ของคุณ Enrique เลยเพราะเวลากล้ามเนื้อตัวนี้หดเกร็งขึ้นมา มันจะล็อคให้เข่าติดอยู่ในตำแหน่งที่งอเล็กน้อยทำให้เข่าข้างขวาไม่สามารถเหยียดตรงได้สุดนั้น ยิ่งทำให้เข่าข้างขวาไม่สามารถลงน้ำหนักได้อย่างเต็มที่ เมื่อตรวจกำลังกล้ามเนื้อพบว่ากล้ามเนื้อต้นขาทางด้านใน ชื่อว่า Vastus medialis ของขาขวามีการอ่อนแรงและฝ่อลีบกว่าข้างซ้ายเห็นได้อย่างเห็นได้อย่างชัดเจน ซึ่งสิ่งนี้สัมพันธ์กับอาการเจ็บใต้เข่า เพราะอาการเจ็บให้เขานั้นในตอนแรก ทางการแพทย์สันนิษฐานมาว่าเป็นอาการเอ็นข้อเข่าอักเสบ หรือ Patella tendinitis

ในวันนั้นฟ้าได้ทำการตรวจ ผลออกมาว่าอาการเอ็นเขาอักเสบของเค้าได้หายไปแล้วแต่อาการที่ยังคงอยู่นั้นเป็นมาจากอาการเจ็บพร้าวมาจากกล้ามเนื้อต้นขาทางด้านในเมื่อคลำแล้วพบจุดกดเจ็บ และจะเจ็บจากจุดที่กดร้าวลงไปใต้เข่า ในวันนั้นปัญหาหลักที่พบได้เลย ก็คือไม่สามารถควบคุมการทำงานของเข่าได้อย่างเหมาะสมมีอาการตึงตัวของน่องทั้งสองข้าง (Gastrosoleaus)  ซึ่งน่องข้างขวาจะตึงมากๆ มีอาการเท้าสูง (High arch)และตึงแถบด้านนอกของต้นขา ( Iliotibial band) ร่วมกับกล้ามเนื้อแกนกลางอ่อนแรงและไม่สามารถเคลื่อนไหวกระดูกสันหลังได้อย่างอิสระ เนื่องด้วยบุคลิกที่ไหลห่อหลังค่อม

แพลนในตอนนั้น คือการคลายความตึงตัวของกล้ามเนื้อที่มากเกินไป ทั้งน่อง แถบด้านนอกต้นขา หลังข้อพับเข่า และหน้าสะโพก รวมทั้งลดอาการปวดที่จุดกดตันขา และหลังข้อพับ และฟ้าได้ร่วมทีมกับครูภูมิ ซึ่งเราได้จัดโปรแกรมพิลาทิส เพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวข้อสะโพก ข้อเท้า กระดูกสันหลัง และเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อก้น กล้ามเนื้อต้นขาและฝึกการทรงตัว กลยุทธ์ที่ฟ้าใช้สอนคุณ Enrique จะใช้วิธีการให้คุณ Enrique รู้จักร่างกายด้วยตัวเองก่อน เข้าใจสาเหตุว่าปัญหาคืออะไร และจะต้องจัดการยังไงกับร่างกาย ซึ่งส่วนนี้จะช่วยให้เราเป็นทีมเดียวกัน และสู้เพื่อจุดมุ่งหมายเดียวกัน นั่นก็คือ เพิ่มความแข็งแรงของร่างกายให้มากพอจนไม่จำเป็นต้องผ่าตัด และสามารถเล่นเทนนิสได้อย่างปลอดภัยและมีคุณภาพ ซึ่งสุดท้ายแล้ว คุณ Enrique แข็งแรงมากพอ อาการเจ็บลดลง และปฏิเสธการผ่าตัดไปในที่สุดค่

ต่อมาคุณ Enrique ได้ไปพบแพทย์ พบว่าจริงๆแล้วปัญหาหมอนรองกระดูกฉีกขาดนั้นเป็นปัญหาที่มีมาแต่ก่อนแล้ว และปัญหาปัจจุบันก็คือเอ็นไขว้หน้าฉีกขาด ซึ่งแผนการรักษา จะมีความต่างกันออกไปในรูปแบบการออกกำลังกาย และการทำงานของเราก็จะยากและซับซ้อนขึ้น แต่ว่าในความซับซ้อนนั้นก็มีความโชคดีเพราะว่าเราได้เป็นทีมเดียวกันแล้วในการที่จะสื่อสารกัน และสร้างความเข้าใจในแผนการรักษาร่วมกันมุ่งนั้นเป็นไปได้ง่ายขึ้นกว่าตอนแรกอีกค่ะ จนปัจจุบันนี้ นอกจากคุณ Enrique จะไม่ต้องเข้ารับการผ่าตัดแล้ว และร่างกายยังแข็งแรงขึ้นอีกมากๆประสิทธิภาพในควบคุมร่างกาย และในการเล่นเทนนิสนั้นดีขึ้นไปหลายระดับ เรื่องแกนกลางร่างกายก็แข็งแรงขึ้นมาก

และในตอนนี้โปรแกรมได้มีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับความสามารถในตอนนี้มากขึ้น จะเน้นเป็น Functional exercise มากขึ้น และเป็นการออกกำลังกายที่ใช้แกนกลางควบคุมการทรงตัวของร่างกายที่ท้าทายขึ้นไปอีก การทำงานของร่างกายแบบองค์รวมที่ซับซ้อนมากกว่าการทำงานแบบแยกส่วน ซึ่งจุดนี้ ถือว่าเป็นส่วนสำคัญมากๆ สำหรับนักกีฬาทั้งสมัครเล่นและมืออาชีพเลยค่ะ

 

 

 

.