1. We listen
การรักษาอาการบาดเจ็บข้อเท้านักวิ่ง ในช่วง 10 นาทีแรก นักกายภาพจะสอบถามประวัติเกี่ยวกับการวิ่งของลูกค้าและถามถึงสาเหตุของอาการข้อเท้าพลิก นักกายภาพจะตรวจบริเวณที่มีอาการบาดเจ็บ สอบถามโดยวัดระดับความเจ็บหรืออาการตึงตั้งแต่น้อยไปมาก อย่างไรก็ตาม จุดที่บาดเจ็บจริงๆอาจจะไม่ใช่แค่ที่บริเวณที่เรารู้สึกเจ็บ แต่อาจจะมีต้นตอมาตั้งแต่เท้า นิ้วเท้า น่อง และเอ็นร้อยหวาย ดังนั้นนักกายภาพจะประเมินสาเหตุที่แท้จริงว่าจุดกดเจ็บหรืออาการร้าวนั้นมีสาเหตุหรือต้นตอมาจากตรงไหนที่แท้จริง
2. We assess
นักกายภาพบำบัดจะถามลูกค้าถึงระดับที่ลูกค้าสามารถหมุนหรือบิดข้อเท้าเข้าออกและคงไว้ได้มากน้อยแค่ไหน ในส่วนของการประเมินในเคสนี้ พบว่าเท้าข้างซ้ายไม่สามารถหมุนฝ่าเท้าออกไปทางด้านนอกได้อย่างมั่นคง เมื่อเทียบกับเท้าข้างขวา
นักกายภาพบำบัดจะประเมินว่ากระดูกน่องขานั้นทำงานอย่างไรและถ้าไม่สามารถยืดหรือเหยียดออกได้ และไม่มีแรงที่จะคงไว้ในท่าที่ถูกต้อง ซึ่งอาจจะเกิดมาจากการที่เอ็นร้อยหวายอักเสบของเท้าข้างเดียวกันกับน่อง
3. We educate
นักกายภาพบำบัดจะอธิบายถึงสาเหตุว่าทำไมนักวิ่งถึงมีอาการฝืดหรือติดขัดบริเวณข้อต่อ ยืดขาได้ไม่สุดและไม่มั่นคง และมีอาการตึงอย่างสุดขีดบริเวณส้นเท้า
ในส่วนของการบำบัดอาการนี้ นักกายภาพบำบัดจะทดสอบความแข็งแรงและความมั่นคงของข้อเท้าด้านซ้ายของลูกค้าด้วย เพื่อให้รู้ค้าเห็นถึงความไม่สมดุลกันของเท้าทั้งสองข้าง
นักกายภาพบำบัดจะออกแบบโปรแกรมการออกกำลังกายสำหรับฝึกเองที่บ้านเพื่อเสริมสร้างการเคลื่อนไหวด้วยข้อเท้าให้แข็งแรงและมั่นคงมากยิ่งขึ้น
4. We treat
ก่อนที่จะทำการบำบัดข้อเท้า นักกายภาพบำบัดจะประคบที่ประคบร้อน (Hot pack) เป็นเวลา 20 นาที เพื่อ warm up กระดูกข้อต่อ และจะทำการบำบัดในขั้นตอนต่อไป
- ทำ ultrasound
- การขยับข้อต่อด้วยมือ (Joint mobilization)
- นวดคลายกล้ามเนื้อบริเวณกระดูกน่อง (Release tension on fibularis)
- นวดสปอร์ตบริเวณน่อง (Sport massage on calf)