การทำงานของระบบประสาท ประกอบด้วย สมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาทในร่างกาย ทำหน้าที่ร่วมกันในการรับความรู้สึกของอวัยวะต่าง ๆ และตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม เช่น รู้สึกเย็น ร้อน เจ็บ คัน ปวด แสบ ควบคุมการทำงานของร่างกาย ตลอดจนความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ ความทรงจำต่าง ๆ สมองเป็นหนึ่งในอวัยวะที่มีความสลับซับซ้อนในการทำงาน เซลล์สมองมีความจำเพาะและเปราะบาง มีมากกว่าพันล้านเซลล์ สมองทำให้เรามีความสามารถที่จะพูด คิด แก้ปัญหา จำ สั่งการการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ การหายใจ ทำหน้าที่แทบทุกอย่างที่คนเราทำ การดูแลรักษาให้สมองทำงานเป็นปกติ จึงเป็นสิ่งสำคัญ

ก่อนอื่นเราจะมาทราบกันก่อนว่า ปัญหาทางระบบประสาทที่พบได้บ่อยมีอะไรบ้าง และการออกกำลังกายแบบ  พิลาทิสร่วมกับการทำกายภาพบำบัดจะช่วยได้อย่างไร

โรคหลอดเลือดสมอง

คือภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยงเนื่องจากหลอดเลือดตีบ หลอดเลือดอุดตัน หรือหลอดเลือดแตก ส่งผลให้เนื้อเยื่อในสมองถูกทำลาย ขาดออกซิเจนไปเลี้ยงการทำงานของสมองหยุดชะงัก

อาการของโรคหลอดเลือดสมองจะเกิดขึ้นในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายซึ่งควบคุมโดยพื้นที่ที่เสียหายส่งผลให้เป็นโรคเกี่ยวกับสมอง เช่น อัมพาต, ชาหรืออ่อนแรง, มีปัญหาในการพูด, สับสน, ปัญหาในการทรงตัวและการเดิน เป็นต้น

READ MORE…

โรคพาร์กินสัน

เป็นโรคที่เกิดจากเซลล์สมองในส่วนที่สร้างสารเคมีที่ชื่อว่า โดปามีน ซึ่งเป็นสารที่ทำหน้าที่ในการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายเริ่มทำงานเสื่อมสภาพลงจนไม่สามารถผลิตสารนี้ได้อีกต่อไป จึงมีผลให้ร่างกายเกิดการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ โรคนี้จะพบมากในช่วงอายุ 65-80 ปีขึ้นไป โดยผู้ชายมีโอกาสเป็นมากกว่าผู้หญิงประมาณ 1.5 เท่า โรคนี้จะดำเนินไปอย่างช้า ๆ แต่สามารถกระทบกับผู้ป่วยได้ในระยะยาว

โดยปกติแล้วโรคนี้จะมีอาการที่แสดงออกมามาก หรือน้อยแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ อย่าง แต่ที่เป็นเหมือนกันคือ โรคนี้จะค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไป ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างฉับพลันเหมือนโรคทางสมองอื่น ๆ และอาการจะเป็นมากขึ้นไปด้วยหากปล่อยไว้เป็นเวลานาน โดยอาการที่แสดงออกมีดังนี้

  • อาการสั่นเกร็ง (Tremor) มักจะมีอาการที่นิ้วมือ แขน ขา โดยจะเกิดอาการสั่นเมื่อไม่ได้เคลื่อนไหว และไม่สามารถควบคุมได้ หากเริ่มทำกิจกรรมอาการสั่นจะลดลง หรือหายไป และอาจมีอาการปวดกล้ามเนื้อร่วมด้วย
  • เคลื่อนไหวช้า (Bradykinesia) ใช้เวลานานในการเคลื่อนไหว หรือช้ากว่าปกติ ทำให้เกิดความยากลำบากในชีวิตประจำวัน และอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุตามมาได้
  • ท่าเดินผิดปกติ (posture instability) ผู้ป่วยจะมีอาการก้าวเดินสั้น ๆ ในช่วงแรกและจะก้าวยาวขึ้น จนเร็วมาก และไม่สามารถหยุดได้ทันทีนอกจากนี้ยังอาจมีอาการหลังค่อม แขนไม่แกว่ง หรือเดินแข็งทื่อเหมือนหุ่นยนต์
  • การแสดงสีหน้าเหมือนใส่หน้ากาก (masking face)ผู้ป่วยจะมีใบหน้าเฉยเมยเวลาพูดมุมปากจะยกขึ้นเพียงเล็กน้อยทำให้ดูเหมือนไม่มีอารมณ์ร่วม
  • พูดเสียงเบาผู้ป่วยบางรายจะมีอาการพูดไม่ชัด พูดเสียงเบา หรือเสียงอาจหายไปในลำคอ บางรายอาจมีอาการพูดรัวเร็ว ระดับเสียงในการพูดอยู่ในระดับเดียวกันตลอด และอาจมีน้ำลายสอออกมาคลออยู่ที่มุมปาก

READ MORE…

โรคอัลไซเมอร์

โรคที่เป็นสาเหตุของภาวะสมองเสื่อมชนิดที่พบได้มากที่สุด ส่งผลต่อสมองส่วนที่ควบคุมความคิด ความทรงจำ และการใช้ภาษา อาการของโรคจะเริ่มจากการหลงลืมที่ไม่รุนแรงจนแย่ลงเรื่อย ๆ ถึงขั้นไม่สามารถสนทนาโต้ตอบหรือมีการตอบสนองต่อสิ่งรอบข้าง อาการเริ่มแรกของโรคอัลไซเมอร์อาจมีอาการหลงลืมหรือภาวะสับสนที่ค่อย ๆ พัฒนาไปอย่างช้า ๆ โดยใช้เวลาหลายปี ซึ่งบางครั้งมีความคล้ายคลึงกับโรคอื่นจนทำให้เกิดความสับสน และอาจเข้าใจผิดไปว่าเป็นเพียงอาการหลงลืมเมื่ออายุมากขึ้น ทั้งนี้อาการในผู้ป่วยแต่ละรายก็พัฒนาช้าเร็วแตกต่างกัน ทำให้สามารถคาดเดาได้ยากว่าอาการจะแย่ลงเมื่อใด อัลไซเมอร์เกิดจากการฝ่อตัวของสมองซึ่งจะส่งผลกระทบต่อโครงสร้างและการทำงานของสมองบริเวณนั้น ๆ ส่วนสาเหตุที่สมองฝ่อตัวลงนี้ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด

  • พิลาทิสช่วยได้อย่างไร ?

การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพและควรปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ไม่เว้นแม้แต่ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ โดยหากผู้ป่วยออกกำลังกายเป็นประจำทุก ๆ วันเจะสามารถกระตุ้นการทำงานของสมองได้ ปรับอารมณ์ให้ดีขึ้น ส่งผลดีต่อการทำงานของข้อต่อ กล้ามเนื้อ และหัวใจ นอกจากนี้ยังช่วยให้นอนหลับดีและป้องกันอาการท้องผูกได้ด้วย

โรคปลอกประสาทอักเสบ

เป็นโรคที่มีการอักเสบของปลอกประสาทที่หุ้มเส้นประสาทในส่วนของ สมอง เส้นประสาทตา และไขสันหลัง  โดยปลอกประสาทมีหน้าที่สำคัญในการนำกระแสประสาท ซึ่งเมื่อมีการอักเสบของปลอกประสาทส่งผลให้การนำกระแสประสาทของอวัยวะนั้นผิดปกติ  ทำให้เกิดอาการ อาการแสดงของโรค เช่น เส้นประสาทตาอักเสบทำให้มีอาการตามัว มองไม่ชัด หรือ ไขสันหลังอักเสบ ทำให้มีอาการขาสองข้างอ่อนแรง เป็นต้น

ในแต่ละคนอาการของโรคจะหนักเบาไม่เท่ากัน และยังมีอาการที่หลากหลายแตกต่างกันไป ผู้ป่วยบางคนแสดงอาการน้อยมากหรือบางคนก็อาจมีอาการหนักจนใช้ชีวิตประจำวันยากลำบาก รุนแรงไปจนถึงพิการก็มี ลองมาดูอาการที่พบบ่อยหากเป็นโรค MS

  • ด้านการมองเห็นเห็นภาพซ้อน มองไม่เห็น เจ็บตา ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นเพียงข้างใดข้างหนึ่ง
  • ด้านการทรงตัวสูญเสียการทรงตัว อ่อนแรง ขากระตุก หกล้มง่ายมือสั่น การเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่สอดคล้องกัน
  • ด้านสมองมีปัญหาด้านความคิด การตัดสินใจ ความจำ รับและทำความเข้าใจข้อมูลต่าง ๆ ได้ช้า อาจมีอารมณ์แปรปรวน และซึมเศร้าได้
  • ด้านการพูดพูดไม่ชัด รวมไปถึงเคี้ยวหรือกลืนอาหารลำบาก
  • ด้านระบบปัสสาวะปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ และท้องผูกอยู่บ่อย ๆ
  • รู้สึกเหนื่อยล้าง่ายเหน็บชาตามแขนขา และบริเวณใบหน้า เมื่อขยับคอจะรู้สึกเหมือนโดนไฟช็อต
  • พิลาทิสช่วยได้อย่างไร ?

เนื่องจากพิลาทิสเป็นการออกกำลังกายที่สามารถปรับความหนักเบาให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลได้ จึงเหมาะเป็นอย่างยิ่งกับผู้ป่วย MS ที่มีอาการเหนื่อยล้าง่าย นอกจากนี้ยังเป็นการออกกำลังกายที่เน้นไปในส่วนของการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว ซึ่งจำเป็นต่อการทรงตัวให้ผู้ป่วยที่อาจมีปัญหาได้ พิลาทิสเน้นการควบคุมร่างกายจะช่วยให้ลดภาวะสั่น และลดความเสี่ยงต่อการล้มได้อีกด้วย

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

หมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท (HNP) เกิดจากการแตกของหมอนรองกระดูกสันหลังจนทำให้น้ำในหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนออกมาจนกดทับเส้นประสาท ซึ่ง HNP นั้นมีความแตกต่างจากอาการปวดหลังทั่วไป โดย HNP นั้นมีอาการชา ปวด อ่อนแรงของขาข้างที่เส้นประสาทนั้นถูกกดทับ โดยอาการจะปวดมากเมื่อนั่งหรือก้มหลัง เมื่อไอหรือจามจะปวดมากขึ้น แต่อาการจะดีขึ้นเมื่อยืนหรือเดิน ส่วนอาการปวดหลังนั้นอาการจะไม่รุนแรง

HNP ไม่มีอาการชาร้าวลงขาหรืออ่อนแรงใดๆ ไม่ว่าจะนั่งหรือยืน สาเหตุของ HNP นั้นมีหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น การยกของหนักในท่าก้มหลัง การเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลัง อุบัติเหตุ เป็นต้น

READ MORE…

เส้นประสาทการทรงตัวอักเสบ

เป็นการอักเสบของเส้นประสาทหู (Vestibulocochlear nerve) ส่วนควบคุมการทรงตัว ทำหน้าที่รับข้อมูลจากอวัยวะทรงตัวที่อยู่ภายในหูชั้นใน ซึ่งอวัยวะการทรงตัว ประกอบด้วย ท่อรูปครึ่งวงกลมลักษณะเป็นห่วงสามห่วง และกระเปาะสองกระเปาะเรียกว่า ยูตริเคิล (Utricle) และแซคคูล (Saccule) โดยในส่วนของยูตริเคิลจะมีตะกอนหินปูน (Otoconia) ที่เกาะอยู่กับเส้นประสาท ทำหน้าที่รับรู้การเคลื่อนไหวของศีรษะ เช่น เมื่อเอียงศีรษะไปทางด้านขวา หินปูนก็จะเอียงไปยังด้านขวาเพื่อส่งสัญญาณไปยังสมองทำให้สามารถทรงตัวได้อย่างมั่นคง หากเส้นประสาทการทรงตัวอักเสบก็จะทำให้สมองรวบรวมข้อมูลที่ได้จากหูซ้าย และหูขวา ไม่เหมือนกัน ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน เห็นภาพเบลอ และทรงตัวลำบากตามมา

  • พิลาทิสช่วยได้อย่างไร ?

เมื่อมีอาการเวียนศีรษะขณะเดิน ควรหยุดเดินและนั่งพัก  เพราะการฝืนเดินขณะเวียนศีรษะอาจทำให้ผู้ป่วยล้ม โดยส่วนใหญ่แพทย์จะให้การรักษาโดยการให้ยาที่กดการรับรู้ของประสาททรงตัว เพื่อให้หายจากอาการเวียนศีรษะ และเมื่ออาการเวียนศีรษะน้อยลงแล้ว ควรให้เริ่มการบริหารระบบทรงตัว (head balance exercise) เพื่อให้ร่างกายสามารถปรับสมดุลของระบบประสาททรงตัวได้  การบริหารดังกล่าวเป็นการฝึกฝนการปรับวิสัยการทรงตัวต่อตัวกระตุ้นสมมุติที่สร้างขึ้น จะสร้างนิสัย“เคยชิน”ต่อสภาวะนั้น ๆ ให้เกิดขึ้นในอวัยวะทรงตัว เพื่อให้สามารถใช้การทรงตัวได้อย่างดีในสภาวะต่างๆ ได้แก่ การฝึกบริหารสายตา  ฝึกกล้ามเนื้อ คอ แขนขา   ฝึกการเคลื่อนไหวศีรษะและคอ รวมทั้งการเดิน และยืน เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้มีประสิทธิภาพที่สุด

ปัญหาทางระบบประสาทและสมอง - Real Case

Mr. At - PhysioPilates

1. ลูกค้าชายชาวต่างชาติ มาด้วยอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อจากโรค Polyneuropathy มาประมาณ 5 ปี ปัจจุบันสามารถเดินด้วยไม้ค้ำยัน 1 ข้าง นอกจากนี้ยังมีปัญหาด้านการมองเห็นร่วมด้วย โดยลูกค้ามีเป้าหมายคือต้องการเดินได้เองโดยไม่ใช่ไม้ค้ำยัน
จากการตรวจร่างกายพบว่าลูกค้ามีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อทั้ง 2 ข้าง โดยเฉพาะช่วงขาและแกนกลางลำตัว มีปัญหาด้านการทรงตัว ส่งผลให้รูปแบบการเดินผิดปกติ รวมทั้งการใช้ไม้ค้ำยันเป็นเวลานานยังส่งผลต่อท่าทางและบุคลิกของลูกค้าด้วย

2. จากการซักประวัติและตรวจร่างกายทำให้สามารถนำมาเป็นแนวทางในการออกแบบโปรแกรมการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับลูกค้าได้ โดยเน้นเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อช่วงขาและแกนกลางเป็นหลัก ร่วมกับการคลายกล้ามเนื้อที่ยึดตึงและเพิ่มการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลัง การเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว การฝึกการทรงตัว และการฝึกปรับท่าทางและบุคลิกของลูกค้าให้สมดุลมากยิ่งขึ้น

3. นอกจากนี้ระหว่างการออกกำลังกายก็จะมีการอธิบายและแนะนำลูกค้าถึงสิ่งที่ตรวจพบ ความสำคัญที่จะต้องแก้ไขและความเกี่ยวเนื่องกันกับปัญหาของลูกค้าโดยตรง ซึ่งเมื่อลูกค้ามีความเข้าใจก็จะสามารถทำให้อาการของลูกค้าดีขึ้นได้อย่างรวดเร็ว

4. การออกกำลังกายที่สตูดิโอจะเน้นไปที่การใช้อุปกรณ์พิลาทิสต่างๆ เช่น reformer และ cadilac โดยเน้นไปที่โปรแกรมที่ได้คุยกับลูกค้าเอาไว้ในตอนแรก ซึ่งอาจมีการปรับเปลี่ยนท่าออกกำลังกายในแต่ละครั้งตามความเหมาะสม นอกจากนี้จะมีการให้ท่าออกกำลังกายง่ายๆที่ลูกค้าสามารถนำไปฝึกเองที่บ้านได้ด้วย เช่น Bridging exercise, Deadbug exercise เป็นต้น เพื่อให้ลูกค้าได้สามารถฝึกออกกำลังกายด้วยตนเองได้ที่บ้าน
หลังจากผ่านไปหลายครั้ง พบว่าลูกค้ามีพัฒนาการที่ดีขึ้นหลายด้าน ทั้งความแข็งแรงของกล้ามเนื้อทั่วตัว กล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว ท่าทางบุคลิกดูดีขึ้น การทรงท่าของลูกค้าดีขึ้น ซึ่งส่งผลให้รูปแบบการเดินดีขึ้นด้วย

 

 

 

.