การรักษาข้อติด
การรักษาข้อติด สามารถทำได้โดยเทคนิค Mobilization ซึ่งเป็นเทคนิครักษาด้วยการจัด ดัด ดึง กระดูก หรือข้อต่อต่างๆที่มีการยึดติดเคลื่อนไหวได้ไม่สุดช่วงการเคลื่อนไหว เช่น กระดูกสันหลัง ปวดหลังคอ ข้อไหล่ติด ข้อเข่าติด หรือการยึดติดของข้อจากการใส่เฝือก เมื่อข้อต่อเคลื่อนไหวดีขึ้นกล้ามเนื้อรอบๆก็จะลดการเกร็งตัวลง อาการปวดขณะเคลื่อนไหวก็ลดลง
การรักษาข้อติด ด้วยเทคนิค Mobilization แบ่งออกได้ 4 ระดับ
Mobilization Grade I: เป็นการขยับเคลื่อนไหวเนื้อเยื่อ ที่อยู่ในระดับพื้นผิว ความถี่ในการขยับจะเป็นแบบสั้นๆ สำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะบาดเจ็บแบบเฉียบพลัน เพื่อหวังลดการปวดผ่านทางระบบประสาท
Mobilization Grade II: ลักษณะจะเป็นเหมือน Grade I เพียงแต่ช่วงกว้างของการขยับนั้นจะกว้างกว่า สำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะบาดเจ็บแบบเฉียบพลัน เพื่อหวังลดการปวดผ่านทางระบบประสาท
Mobilization Grade III: ในเกรดนี้ เหมาะที่จะใช้ในผู้ป่วยที่มีการติดแข็ง หรือ ยึดติดของเนื้อเยื่อ ข้อต่อ หลังจากการบาดเจ็บโดยที่ การทำหัตถการต้องขยับเคลื่อนไหว เนื้อเยื่อหรือข้อต่อ ให้รู้สึกถึงแรงต้านนั้นๆ จากนั้นขยับและเคลื่อนไหวในทิศทางต่างที่ข้อต่อและเนื้อเยื่อสามารถทำได้ในภาวะปกติ โดยแรงและการขยับที่ให้ในการทำหัตถการจะกว้างและลงลึกถึงแรงต้านประมาณ 50%
Mobilization Grade IV: เกรดนี้ การขยับจะเป็นช่วงสั้นแต่ลงลึกถึงแรงต้าน ประมาณ 50-75% ในปกติการทำหัตถการของกายภาพบำบัด การดัดดึง การเคลื่อนไหว ข้อต่อจะใช้หัตถการดังกล่าวข้างต้น แต่ยังมีหัตถการที่เหมือนกับหัตถการของนักไคโรแพรคเตอร์ นั้นคือการ Manipulation หรือการ Mobilization Grade V ซึ่งเป็นเทคนิคที่ต้องใช้ความเร็วและแรง จึงต้องถูกทำโดยผู้ที่ได้รับการเรียนและการฝึกฝนมาเป็นระยะเวลานานจนผ่านและได้รับใบรับรองการทำหัตถการ ส่วนใหญ่จุดประสงค์ของการทำ Manipulation นั้นเพื่อการขยับข้อต่อเพื่อลดแรงเค้นที่ข้อต่อ
ส่วนหัตถการของนักไคโรแพรคเตอร์ จะเป็นการรูปแบบจัดโครงสร้างของร่างกาย ให้กลับมาสู่สภาวะที่ใกล้เคียงกับโครงสร้างปกติของร่างกายเพื่อให้ร่างกายใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
หากพูดถึงข้อต่อในร่างกาย ซึ่งมีหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น ข้อต่อบานพับ (hinge joint) ข้อต่อลูกสะบ้า (ball and socket) หรือข้อต่ออาน (saddle joint) ข้อต่อจะเกิดขึ้นจากการประกบกันของกระดูกตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไป เพื่อช่วยให้ข้อต่อทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังมีโครงสร้างอื่น ๆ เช่น เอ็น (ligaments), เอ็นกระดูก (tendon), เส้นใยกล้ามเนื้อ (muscle fibers)
บางครั้งอาการบาดเจ็บบริเวณข้อต่ออาจะเกิดจากการบาดเจ็บ ความเครียด ท่าทางที่ไม่ดี การเคลื่อนไหวซ้ำ ๆ หรือแม้กระทั่งการสึกหลอตามอายุ เมื่อสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นส่งผลทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของข้อต่อไม่มีประสิทธิภาพสะสมเป็นระยะเวลานาน ทำให้เกิดการติดขัดของข้อต่อ และยังส่งผลต่อโครงสร้างใกล้เคียง ไม่ว่าจะเป็นเอ็นกล้ามเนื้อ เอ็นกระดูก กล้ามเนื้อ อาจเกิดความตึงตัวหรือการบาดเจ็บจากการช่วยพยุงข้อต่อมากเกินไป ส่งผลทำให้เกิดความอ่อนแรงของกล้ามเนื้อรอบ ๆ มากขึ้นเรื่อย ๆ แต่อย่างไรก็ตาม การรักษาข้อติด ด้วยเทคนิค Mobilization ไม่ได้เหมาะสมกับในคนไข้ทุกราย ควรให้นักกายภาพบำบัดเป็นผู้วิเคราะห์อาการบาดเจ็บ
กลไกและประโยชน์ของการรักษาข้อติด
- ทำให้เกิดความยืดหยุ่นของเนื้อเยื่อบริเวณรอบข้อต่อ เกิดการทำลายการยึดเกาะของเนื้อเยื่อที่ยืดหยุ่นได้น้อยให้เกิดการจัดเรียงตัวใหม่ เป็นการเพิ่มความยืดหยุ่นของโครงสร้างที่ถูกยืด
- กระตุ้นการทำงานของเซลล์เพื่อเพิ่มอัตราการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อ
- ทำให้เกิดความร้อนภายในเนื้อเยื่อ ส่งผลให้เนื้อเยื่อมีความอ่อนนุ่มมากขึ้น ซึ่งช่วยทำให้นักกายภาพบำบัดสามารถยืดเนื้อเยื่อในเทคนิคอื่นๆหลังการทำ Mobilization ได้ง่ายขึ้น
- ลดความเจ็บปวดของข้อต่อเนื่องจากการผ่อนคลายความเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ เทคนิค Mobilization เป็นการรักษาโดยให้แรงเกิดการขยับข้อต่อโดยการเคลื่อนไหวปกติ ทำย้ำตรงจุดนั้น ๆ เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นของข้อต่อ ส่งผลทำให้เกิดการคลายของกล้ามเนื้อรอบ ๆ ข้อต่อ
หากคุณมาพบกับนักกายภาพบำบัดที่ Le Physio ที่คลินิกของเรา ขั้นแรกคุณจะได้รับการตรวจร่างกายอย่างละเอียด เราจะทำการประเมินตั้งแต่การเคลื่อนไหวของข้อต่อ ความแข็งแรง ระดับความเจ็บปวด ท่าทาง แม้กระทั่งความตึงตัวของกล้ามเนื้อ เพื่อให้เกิดการวินิจฉัยได้อย่างแม่นยำ จากการตรวจของนักกายภาพบำบัด รวมถึงข้อมูลการบาดเจ็บ ประวัติการรักษาในปัจจุบันถึงอดีตของคุณ และคิดโปรแกรมการรักษาให้เป็นไปในเป้าหมายที่ดีที่สุดสำหรับคุณ