ท่าทางในการปั่นจักรยาน
ไม่ว่าคุณจะเป็นนักปั่นจักรยานมือใหม่ หรือเป็นนักปั่นมานานแล้ว คุณก็มักจะให้ความสำคัญกับการเลือกจักรยานที่เหมาะสมกับร่างกาย รวมถึงการจัดวางแนวลำตัวให้เข้ากับจักรยานขณะปั่นด้วย
ในชีวิตประจำวันเรามักจะมีการทำกิจกรรม หรือการใช้ชีวิตที่ส่งผลกระทบต่อบุคลิก ท่าทาง การจัดวางสรีระที่ผิดปกติไป เช่น การนั่งทำงานในออฟฟิศนานๆ ค้างท่าใดท่าหนึ่งนานหลายชั่วโมงติดต่อกัน จนทำให้เกิดอาการตึงจนขีดสุด ซึ่งปัญหานี้ก็เกิดขึ้นได้กับนักปั่นจักรยานเหมือนกัน
การปั่นจักรยาน นับเป็นกีฬาที่ต้องเคลื่อนไหวตลอดเวลา แต่ประเด็นสำคัญเลยคือ ขณะที่เราปั่นจักรยานนั้นก็ต้องอาศัยความมั่นคง ความนิ่งของสรีระ ขณะเคลื่อนไหวเหมือนกัน แต่ถ้าปั่นเป็นเวลานานๆ เช่น 4 ชั่วโมงขึ้นไปก็อาจทำให้เกิดอาการเหล่านี้ได้
- มีการตึงที่บริเวณข้อต่างต่างๆมากเกินไป
- กล้ามเนื้อ หรือเนื้อเยื่อขาดของเหลวที่จะไปหล่อเลี้ยงเลยทำให้เกิดการเคลื่อนไหวได้ไม่เต็มที่
- มีอาการตึงบริเวณแกนกลางร่างกายตั้งแต่ต้นคอ ผ่านกระดูกสันหลัง ลงไปจนถึงใต้ฝ่าเท้า
อาการบาดเจ็บทั่วไปจากการปั่นจักรยานและวิธีการรักษาภายใต้คลินิกของเรา
- รับฟังปัญหาและอาการบาดเจ็บ รวมไปถึงสาเหตุของอาการบาดเจ็บ
- ตรวจประเมินร่างกายโดยรวม
- การให้ความรู้เกี่ยวกับสาเหตุของอาการบาดเจ็บและแนวทางในการรักษา
- การรักษาด้วยพิลาทิส หรือเทคนิคพิเศษทางกายภาพต่างๆ
ความชำนาญในเรื่องของการฝึกปั่นจักรยาน, ความเชี่ยวชาญด้านกายภาพบำบัด, การออกกำลังกายเพื่อการบำบัดฟื้นฟู, เทคนิคการออกกำลังกายแบบพิลาทิส และเทคนิคการคลายปมผังผืดในกล้ามเนื้อ (Myafoascia release) ของทางคลินิกเรา เป็นกุญแจสำคัญในการรักษาและลดอาการบาดเจ็บจากการปั่นจักรยานให้ลูกค้า แถมยังช่วยให้ลูกค้าของเราเรียนรู้วิธีหลีกเลี่ยงอาการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้อีกด้วย
เราไม่เพียงแต่บำบัดฟื้นฟูอาการบาดเจ็บจากการปั่นจักยานเท่านั้น แต่เราจะมีการวางแผนในระยะยาวเพื่อช่วยให้คุณได้ทำกิจกรรมหรือกีฬาที่ชื่นชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
อาการบาดเจ็บจากการปั่นจักรยาน
การฝึกปั่นจักรยานที่ถูกต้อง จำเป็นต้องได้รับการฝึกฝนที่ถูกวิธีเพื่อไม่ให้กระทบต่อร่างกาย รวมถึงต้องมีการเตรียมตัวเพื่อให้ร่างกายเตรียมพร้อมสำหรับการปั่นระยะไกลได้ สิ่งสำคัญในการปรับใช้จักรยานให้เข้ากับร่างกายของนักกีฬา เพื่อที่จะให้นักกีฬาหลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวที่มากเกินไปที่บริเวณสะโพกและกระดูกเชิงกราน นอกจากนี้ถ้านีกกีฬามีการวาง Posture สรีระท่าทางตนเองที่ถูกต้อง ก็จะสามารถช่วยลดอาการตึงบริเวณแขน คอ และมือได้ด้วย
การปั่นจักรยานที่ติดต่อกันนานหลายชั่วโมงจะส่งผลให้เกิด
- อาการปวดคอ เนื่องจากการค้างท่านานๆขณะปั่น กล้ามเนื้อเลยเกิดอาการตึง และทำให้กล้ามเนื้อบริเวณคอนั้นเกิดอาการบาดเจ็บได้ ซึ่งอาจทำให้การเคลื่อนไหวติดขัด และมีอาการวิงเวียนศรีษะ
- อาการปวดมือ กล้ามเนื้อที่นิ้วอ่อนแรง เนื่องจากการอักเสบของเส้นประสาทที่ลากผ่านข้อมือ ดังนั้นเลยส่งผลให้กล้ามเนื้อปลายแขนและข้อต่อมือติดขัด
- อาการปวดบริเวณเอว รู้สึกปวดตึงจากก้นลามไปถึงเท้า ซึ่งการใช้กล้ามเนื้อบริเวณก้นและสะโพกที่หนักเกินไปจะส่งผลให้บริเวณหลังมีอาการยึดตึง เคลื่อนที่ได้ไม่สะดวก
- ปวดสะโพก เนื่องจากอาการตึงบริเวณกล้ามเนื้อที่พับ หรืองอสะโพกมาด้านหน้า เลยจะทำให้ความยืดหยุ่นบริเวณสะโพกนั้นน้อยลง และทำให้ถุงของเหลวที่ช่วยลดแรงเสียดทานเกิดอาการอักเสบ
- อาการปวดเข่าด้านหน้า หรืออาการเจ็บลูกสะบ้า จะมีอาการปวดเวลาที่ยืน อาการนี้จะทำให้กล้ามเนื้อไม่สมดุลได้อีกด้วย
- อาการปวดเข่าด้านนอก เนื่องจากเส้นเอ็นข้างเข่าที่มีชื่อว่า iliotibial band เกิดการอักเสบจากการใช้งานซํ้าๆ กันเป็นเวลานาน และเกิดจากที่ส่วนปลายของเส้นเอ็นไปเสียดสีกับปุ่มกระดูกข้างเข่าอยู่บ่อยๆ (lateral femoral epicondyle) ในขณะก้าวขา
- โรคเอ็นสะบ้าอักเสบ การบาดเจ็บมักเกิดจากการฉีกขาดของเส้นเอ็นบริเวณเหนือลูกสะบ้า อาการของโรค เจ็บปวดบริเวณรอบๆ กระดูกสะบ้า ในรายที่เป็นมากจะเจ็บอยู่ตลอดเวลา หรือบางรายจะมีอาการก็ต่อเมื่อ วิ่ง กระโดด เป็นต้น
- เจ็บข้อเท้า เอ็นร้อยหวายอักเสบ อาการบาดเจ็บนี้มักจะลามไปถึงบริเวณเท้า จนบางครั้งรุนแรงถึงทำให้เกิดอาการการงอฝ่าเท้าลง ซึ่งคือการงอเท้าโดยบังคับให้ปลายนิ้วเท้าชี้ลง
- อาการชาที่เท้า รู้สึกเหมือนมีเข็มทิ่มที่เท้า สูญเสียความรู้สึกบริเวณเท้า ส่งผลให้เกิดอาการตึงบริเวณกระดูกฝ่าเท้า
อาการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจากการปั่นจักรยาน
- บาดเจ็บบริเวณกระดูกไหปลาร้า
- ไหล่โยกคลอนหรือกระดูกหัก
- ข้อมือหัก
- ข้อศอกหัก
More links
Learn more about benefits for good fitting – Click Here
Learn how Myofascia release can help to reduce tension – Click Here